ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาผู้ไกล่เกลี่ยและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาทักษะ และถอดบทเรียนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย ระหว่างวันที่ 19-21 กุมภาพันธ์ 2564 ณ โรงแรมเคนชิงตัน อิงลิช การ์เด้น รีสอร์ท เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 91 คน ประกอบด้วย ผู้ไกล่เกลี่ยของสำนักงาน คปภ. จำนวน 52 คน และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 39 คน ซึ่งการสัมมนาครั้งนี้มีการแบ่งกลุ่มเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ในการระงับข้อพิพาทด้านการประกันภัยให้กับผู้ไกล่เกลี่ยและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เทคนิคการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้านการประกันภัย...
“เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากรถ และรถมีประกันภัย พ.ร.บ.” # ขั้นตอนการรับสิทธิ พ.ร.บ.นั้น ผู้ประสบภัยสามารถติดต่อใช้สิทธิได้ที่บริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยรถหรือที่บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ที่มีสาขาให้บริการทุกจังหวัดทั่วประเทศ โทรสอบถามรายละเอียดการใช้สิทธิความคุ้มครองและการทำประกันภัย พ.ร.บ.ได้ที่บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด Call Center 1791 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ www.rvp.co.th
### โดยความคุ้มครองประกันภัย พ.ร.บ. อุบัติเหตุจากรถ (ตั้งแต่ 1 เมษายน 2563) เมื่อจัดทำประกันภัย พ.ร.บ. ผู้ประสบภัยจากรถคันเอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกันภัยต้องรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ประสบภัย คุ้มครองเป็นค่ารักษาพยาบาลตามจริงสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาทต่อคนสำหรับความเสียหายต่อร่างกายหรืออนามัย หรือ 500,000 บาทต่อคนสำหรับความเสียหายต่อชีวิต...
“กฎหมาย” กำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรถทุกคันมีหน้าที่ต้องจัดให้มีการประกันภัย ตามความคุ้มครองที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กำหนดไว้ คือ การประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือที่เรียกว่า “การประกันภัย พ.ร.บ.”
“รถพร้อม คนพร้อม รถมีประกันภัย ... มีความคุ้มครอง” ความคุ้มครองประกันภัย พ.ร.บ. อุบัติเหตุจากรถ (ตั้งแต่ 1 เมษายน 2563) ผู้ประสบภัยจากรถจะได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย หากมีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ผู้เสียหายก็ไปขอรับค่าเสียหายได้ทันที เรียกว่า ค่าเสียหายเบื้องต้น จากบริษัทประกันภัย ผู้ประสบภัยจากรถคันไหน ก็ไปใช้สิทธิกับรถคันนั้นก่อน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น โดยไม่ต้องรอผลพิสูจน์ความรับผิด โดยความคุ้มครองเบื้องต้นที่ผู้ประสบภัยจากรถจะได้รับเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากรถที่มีประกันภัย พ.ร.บ. บริษัทประกันภัยจะจ่ายภายใน 7 วัน...
ถูกงูเห่ากัดตายในรถ ได้รับความคุ้มครองจากการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือไม่ ?
เช้าวันหนึ่ง สามีภรรยาขึ้นนั่งบนรถเพื่อจะไปทำงาน โดยสามีนั่ง่ด้านคนขับ ภรรยานั่งทางซ้ายของรถ ส่วนลูกชายเข้าไปนั่งเบาะหลัง ซึ่งลืมปิดกระจกไว้
สักครู่ ลูกชายร้องด้วยความเจ็บปวด เพราะถูกงูเห่ากัดถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ถามว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ได้รับความคุ้มครองจากภัยจากรถหรือไม่ ?
ต้องพิจารณาคำว่า " ผู้ประสบภัย" ตามคำนิยามในมาตรา 4 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ ซึ่งได้ให้ความหมายไว้ว่า "ผู้ซึ่งได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรืออนามัยเนื่องจากรถที่ใช้อยู่ในทางหรือเนื่องจากสิ่งที่บรรทุกหรือติดตั้งในรถนั้น.."
ทว่างูเห่า ที่เข้าไปในรถ ไม่ใช่สิ่งที่บรรทุก หรือติดตั้งในรถนั้น
ดังนั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงไม่รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ แม้จะเกิดขึ้นในรถก็ตาม
“คนร้าย 2 คน” ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำการจับกุมและใส่กุญแจมือล่ามโซ่ไว้ด้วยกัน พาขึ้นรถของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งได้รับยกเว้น ไม่ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย ไปสอบสวนที่สถานีตำรวจ
ระหว่างทางคนร้ายคนที่ 1 กระโดดลงจากรถ เพื่อจะหลบหนีการจับกุม ทำให้คนร้ายคนที่ 2 ซึ่งไม่รู้อีโหน่อีเหน่ด้วย ตกลงมาจากรถด้วยเช่นกัน เป็นผลให้ทั้งสองคนถึงแก่ความตาย
ในกรณีนี้ ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยถึงแก่ความตาย ของทั้งสองคนมีสิทธิที่จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นจากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถหรือไม่ ?
ต้องบอกว่า “ผู้ประสบภัยที่มีสิทธิ ที่จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถนั้น ต้องเป็นความเสียหาย อันเกิดจากรถ หรือจากสิ่งที่บรรทุกหรือติดตั้งในรถนั้น โดยเจ้าของรถ/ผู้ขับขี่รถเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นขึ้น. แต่ในกรณีนี้ คนร้ายคนที่ 1 ได้กระโดดลงจากรถ เพื่อใหัรอดพ้นจากการถูกจับกุม
ทว่าในกรณีนี้ ไม่ได้เกิดจากรถ แต่เกิดจากการกระทำของคนร้าย ซึ่งผู้ขับขี่รถไม่ได้กระทำโดยประมาท ปราศจากความระมัดระวังแต่อย่างใด ดังนั้นคนร้ายทั้งสองคนจึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นจากเงินกองทุนแต่อย่างใด”
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า คนขับรถของตำรวจ...
รถบรรทุกเทท้าย ได้บรรทุกแผ่นเหล็กเต็มคันรถเพื่อไปส่งที่สถานที่ก่อสร้าง เมื่อถึงจุดหมายปลายทาง คนขับรถได้ยกดั้มขึ้นเพื่อเทแผ่นเหล็กลงพื้นเสียงดังสนั่นหวั่นไหว
เป็นเหตุให้นกเขา 10 ตัว ตกใจกลัว วิ่งชนกรงถึงแก่ความตายทั้งหมด เจ้าของนกเรียกร้องค่าเสียหายนก 10 ตัวๆ ละ 40,000 บาท ตามราคาที่ซื้อมา
ขอทราบว่า ความเสียหายจำนวน 4 แสนบาท อันเป็นผลมาจากความตายของนกเขาได้รับความคุ้มครอง จากการประกันภัยหมวดความรับผิดต่อบุคคลภายนอกหรือไม่
กรณีรถบรรทุกเทท้ายเทแผ่นเหล็ก ที่บรรทุกมาเต็มคันรถลงพื้นเสียงดังสนั่น เป็นเหตุให้นกเขาของเจ้าของบ้านที่อยู่ใกล้เคียงกันนั้นตกใจกลัว วิ่งชนกรงตายทั้ง 10 ตัวเสียหายเป็นเงิน 400,000 บาท
ปัญหา ก็คือในกรณีเช่นนี้ จะได้รับความคุ้มครองจากการประกันภัยรถยนต์หมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกหรือไม่ นั้น
ได้พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ความเสียหายที่จะได้รับความคุ้มครอง จากการประกันภัยรถยนต์หมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ต้องเป็นความเสียหายเนื่องจากรถที่ใช้หรืออยู่ในทาง หรือเนื่องจากสิ่งที่บรรทุกหรือติดตั้งในรถนั้น เช่นเดียวกับการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
กรณีที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากแผ่นเหล็กที่เทลงมา แต่เกิดจากเสียงของแผ่นเหล็ก ทำให้นกตกใจวิ่งชนกรงจนถึงแก่ความตาย จึงไม่ได้รับความคุ้มครองจากการประกันภัยรถยนต์หมวดความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
เรื่องดังกล่าว เกิดมานานเกือบ 20 ปีแล้ว...
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ. ศ. 2535 มีเจตนารมณ์ที่จะให้ความคุ้มครอง แก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิตร่างกายหรืออนามัย อันมีสาเหตุโดยตรง มาจากรถ หรือจากสิ่งที่บรรทุกหรือติดตั้งในรถนั้น โดยที่อุบัติเหตุอันเกิดจากรถ ได้ทวีจำนวนมากขึ้นในแต่ละปี มีผู้ประสบภัย และผู้ประสบภัยมักไม่ได้รับใช้ค่าเสียหายหรือได้รับชดใช้ค่าเสียหายไม่คุ้มกับความเสียหายที่ได้รับจริง และหากผู้ประสบภัยจะใช้สิทธิทางแพ่งเรียกร้องค่าเสียหายก็จะต้องใช้เวลาดำเนินคดียาวนาน
ดังนั้น เพื่อให้ผู้ประสบภัยได้รับชดใช้ค่าเสียหายและได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นที่แน่นอนและทันท่วงที จึง สมควรกำหนดให้มีความหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
พระบัญญัติฉบับนี้ ได้นำเอาการประกันภัยมาใช้ในการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัย โดยบัญญัติให้เจ้าของรถทุกคัน ต้องเอาประกันภัยกับบริษัทประกันภัย ซึ่งเสียเบี้ยประกันภัยให้กับบริษัทประกัน
ส่วนหนึ่งของเบี้ยประกันที่จ่ายไป จะถูกนำส่งเข้าสมทบกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ เพื่อจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ เมื่อมีกรณีตามมาตรา 23 เกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัย
หลังจากจ่ายไปแล้ว สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ ก็จะไล่เบี้ยเอากับผู้ที่ก่อความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยโดยผิดกฎหมาย คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 437 ประกอบด้วย มาตรา 420 พร้อมกับเงินเพิ่มตามจำนวนที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ มาตรา 26 กำหนดไว้
จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า...
ตอนที่แล้วได้กล่าวถึง ขณะทำสัญญาประกันภัย วัตถุที่เอาประกันภัยคือรถยนต์ได้รับความเสียหาย มาก่อนแล้ว
กรณีนี้ ศาลฎีกาโดยคำพิพากษาที่ 2513/2518 วินิจฉัยว่า บริษัทไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย เหตุผลเกิดเนื่องจาก วินาศภัย ได้เกิดขึ้นแล้ว มิใช่ภัยที่อาจมีขึ้นในอนาคต
ในตอนนี้ จะได้พิจารณาถึงขณะที่สัญญาประกันภัยได้เกิดขึ้น คือวันที่บริษัทสนองตอบรับคำเสนอของผู้เอาประกันภัย วัตถุที่เอาประกันภัย ที่จะนำมาให้ผู้รับประกันภัยรับเสี่ยง สูญหายหรือบุบสลายอย่างสิ้นเชิงหรือไม่มีตัวตนอยู่แล้ว ในขณะบริษัทสนองตอบคำเสนอของผู้เอาประกันภัย
ถามว่าสัญญาประกันภัยเช่นนี้ จะเป็นโมฆียะหรือโมฆะหรือไม่ เพราะเหตุใด
กรณีวัตถุที่เอาประกันภัยได้สูญหาย เสียหายสิ้นเชิง หรือกรณีประกันชีวิต ผู้ถูกเอาประกันชีวิต ได้เสียชีวิตไปก่อนที่บริษัทจะสนองรับคำเสนอของผู้ขอเอาประประกัน
กรณีเช่นนี้ การรับเสี่ยงภัยอันเป็นวัตถุแห่งหนี้ของทางฝ่ายผู้รับประกันภัยก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้
หากคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ทราบดีอยู่แล้ว ยังขืนทำสัญญากันไป สัญญาประกันภัยก็เกิดขึ้นไม่ได้ ผู้รับประกันภัยจะไม่สามารถเรียกประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยได้
แต่ถ้าได้มีการทำสัญญาประกันภัยกันไปโดยเข้าใจผิดว่า วัตถุที่เอาประกันภัย ยังคงมีอยู่ แท้จริงแล้ว วัตถุที่เอาประกันภัยนั้น ไม่มีอยู่แล้ว กรณีเช่นนี้ ย่อมเป็นการสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม ทำให้สัญญาประกันภัยนั้นเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150
เงินประกันชีวิต ที่ไม่มีผู้รับประโยชน์ ถือเป็นมรดกของผู้เอาประกันภัยหรือไม่
สัญญาประกันภัย...
ผู้เอาประกันภัยรถยนต์ ทำประกันภัยรถยนต์ย้อนหลังให้นับเนื่องต่อจากวันที่กรมธรรม์ฉบับเก่าหมดอายุ
เหตุผล ก็เพื่อให้คุ้มครองอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแล้ว หลังจากวันที่กรมธรรม์ฉบับเก่าสิ้นอายุ โดยตกลงกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายรับประกันภัยของบริษัท และเจ้าหน้าที่ฝ่ายรับประกันภัย ก็ตกลงตามนั้น
เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้ว ผู้เอาประกันภัยได้แจ้งขอรับค่าสินไหมทดแทนจากอุบัติเหตุดังกล่าว
บริษัทปฏิเสธการชดใช้ อ้างว่า “สัญญาประกันภัยเป็นโมฆะ”
ผู้เอาประกันภัยจึงฟ้องคดีต่อศาล
ถ้าท่านเป็นศาล ท่านจะตัดสินคดีนี้อย่างไร เพราะเหตุใดทำประกันภัยย้อนหลัง
ข้อกฎหมายที่ฝ่ายผู้เอาประกันภัย ควรหยิบยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ก็คือ "หลักกฎหมายปิดปาก"
หลักนี้ถือว่า ถ้านิ่งเฉยเสียหรือยอมรับตามที่คู่กรณีเสนอมา แล้วยังตกลงทำสัญญาด้วยถือว่าสัญญาสมบูรณ์
หลักกฎหมายปิดปาก ได้นำมาใช้ในกฎหมายระหว่างประเทศด้วย ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือคดีเขาพระวิหาร ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ถ้าเป็นภูเขาหรือเป็นเนินสูงให้ถือเอาสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งเขตแดน ทว่าฝรั่งเศสได้เขียนแผนที่ มีเส้นกั้นอาณาเขต ล้ำเข้ามาในเขตแดนไทย ทำให้ส่วนที่เป็นชง่อนผาอยู่ในเขตกัมพูชา ฝ่ายไทยยอมลงนามในสัญญาโดยไม่มีข้ออิดเอื้อน กฎหมายถือว่า ยอมรับ ทำให้ไทยแพ้คดีในศาลโลก
ทางด้านบริษัท ข้อกฎหมายที่ควรยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ก็คือ ความหมายของสัญญาประกันภัย ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 861 ที่สำคัญประการหนึ่ง ก็คือ คำว่า "วินาศภัยหากมีขึ้น....ในอนาคต"
ซึ่งต้องเป็นเหตุที่ไม่แน่นอน กล่าวคืออาจเกิดขึ้น หรือไม่เกิดขึ้นเลยตลอดอายุสัญญาประกันภัยก็ได้
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว...
บอร์ด คปภ.ยกระดับโครงการ Insurance Regulatory Sandbox เตรียมใช้เต็มรูปแบบ