พรูเด็นซ์ฟาวน์เดชัน จัดประกวดนวัตกรรมด้านภัยพิบัติ

0
79

จากการประกาศรับสมัครผู้เข้าข่งขันจากทั่วโลกภายในงานการประกวด Live Pitch Event ประเทศสิงคโปร์เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้เข้ารอบสุดท้ายจำนวนทั้งหมด 5 ราย จากผู้สมัครทั่วโลก อันประกอบไปด้วย หน่วยงานภาคเอกชน และองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่เน้นการทำประโยชน์พื่อสังคม และได้รับเกียรติจากคณะผู้เชี่ยวชาญ มาเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการผู้ตัดสินในครั้งนี้ โดยมีประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมการแข่งขัน อาทิ กัมพูชาอินโดนีเซีย เนปาล บังลาเทศ ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน ได้ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในการช่วยป้องกันและฟื้นฟูจากเหตุภัยพิบัติในภูมิภาคนี้

ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศได้แก่ FieldSight จากผลงานการนำเสนอแพลตฟอร์มบนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ที่ช่วยสนับสนุนกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูโครงสร้างจากเหตุภัยพิบัติ คว้าเงินรางวัลมูลค่ากว่า 3,000,000 บาท (100,000 ดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อนำไปช่วยสนับสนุนการดำเนินงานและพัฒนาโซลูชันของเทคโนโลยีเพื่อรับมือกับภัยพิบัตินี้ให้ดียิ่งขึ้นต่อไปFieldSight คือ แพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่มาพร้อมกับแอปบนมือถือที่ใช้สำหรับการติดตาม สามารถทำงานออฟไลน์และใช้งานได้ในสถานที่ห่างไกล โดยจับคู่กับเว็บแอปสำหรับดู วิเคราะห์ และตรวจสอบข้อมูล

“ความถี่และขนาดของภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั่วโลกเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก แตนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านพิบัติภัยจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ชุมชนสามารถจัดการ และฟื้นฟูจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเหล่านี้” นานจัสติน เฮ็นซ์รอธ ผู้อำนวยการ FieldSightกล่าว “เราเปิดตัวแพลตฟอร์มนี้ครั้งแรกในประเทศเนปาล หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงในปีพ.ศ. 2558 จากนั้นได้นำมาใช้งานในพื้นที่กว่า 60,000 แห่ง ใน 16 ประเทศ เพื่อติดตาม และดูแลเกี่ยวกับขั้นตอนการรับประกันคุณภาพของกิจกรรมช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรม รวมถึงกิจกรรมปรับปรุงโครงสร้างหลังเกิดเหตุภัยพิบัติ การแข่งขันการประกวดนวัตกรรมด้านภัยพิบัติช่วยให้เรารู้จักและสร้างความสัมพันธ์กับสมาชิกเครือข่าย ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค รวมถึงความสนับสนุนด้านการเงินในวงกว้างมากยิ่งขึ้นอย่างที่เราไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ FieldSight มีความมุ่งมั่นในการลดผลกระทบจากเหตุพิบัติภัยที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลกต่อไป ผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และทั่วโลก”

ภุมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงครองอันดับพื้นที่ที่มีความเสี่ยงและต้องรับมือกับภัยพิบัตธรรมชาตมากที่สุด โดยประชากรในประเทศที่กำลังพัฒนาทั่วเอเชียกว่า 1พันล้านคนมีความเสี่ยงจะเผชิญกับภยันตรายจากภัยพิบัติธรรมชาติที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงพายุหมุนเขตร้อน น้ำท่วม แผ่นดินไหวและอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่าในแต่ละปี จะมีเด็กๆ จำนวนกว่า 200ล้านคน ซึ่งอาจจะมีชีวิตที่เหมือนฝันร้าย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติอย่างรุนแรงในไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า วิศวกรใช้ FieldSight ในการติดตามงานก่อสร้างโรงเรียนในเมืองซาร์ลาฮี ประเทศเนปาลเครดิตภาพ: จอห์น เรย์

ทางด้าน มร.โดนัล เคแน ประธานกรรมการ พรูเด็นซ์ ฟาวน์เดชั่น กล่าวว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไม่เพียงแต่จะเป็นตัวเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนเท่านั้น แต่ยังให้ความดูแล ปกป้อง และช่วยเหลือชีวิตได้ดียิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน เราจึงมั่นใจว่าผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายมานี้ จะสามารถนำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมาพัฒนาและสร้างความแตกต่างในแนวทางการช่วยเหลือชุมชนในภูมิภาคเอเชียให้เกิดความพร้อมและฟื้นตัวากภัยพิบัติทางธรรมชาติได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งเรารู้สึกซาบซึ้งในความร่วมมือ และการได้รับความสนับสนุนในการจัดการประกวดในครั้งนี้จากพันธมิตรต่างๆ โดยเราหวังเปนอย่างยิ่งว่าจะได้เป็ส่วนหนึ่งในกิจกรรมดีๆแบบนี้ต่อไป เพื่อให้ชุมชนของเรามีความแข็งแกร่งปลอดภัยและฟื้นตัวจากภัยพิบัติได้รวดเร็วยิ่งขึ้น”.

นอกจากนี้ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนวัตกรรมเทคโนโลยีภัยพิบัติ “The Disaster Tech Innovation” เพื่อช่วยสนับสนุนองค์กรที่เน้นการทำคุณประโยชน์ต่อสังคมในด้านภัยพิบัติ ผู้เข้าแข่งขันที่ได้เข้ารอบสดท้ายยังได้รับเชิญให้เข้าร่วมจัดแสดงและนำเสนอผลงานอันทันสมัย และได้มีโอกาสพบปะกัพันธมิตรอื่นๆ ในงานประชุมประจำปีของ AVPN ซึ่งเป็นการรวมตัวครั้งสำคัญของผู้ให้การสนับสนุนเงินลงทุน และทรัพยากรแก่โครงการที่เป็นประโยชน์ทางสังคมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ในระหว่างวันที่ 26-28 มิถุนายน 2562 ณ ประเทศสิงคโปร์

เครือข่ายนักลงทุนเพื่อสังคมแห่งเอเชีย (AVPN) มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับพรูเด็นซ์ ฟาวน์เดชัน ในการมอบโอกาสให้นักพัฒนาทุกท่านได้พัฒนาผลงาน และแนวทางใหม่ๆ ในการรับมือกับผลกระทบอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติ” โดยนายเควิน ทีโอประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ของเครือข่ายนักลงทุนเพื่อสังคมแห่งเอเชีย (AVPN) ได้กล่าวเสริมว่า ภารกิจหลักของ AVPN คือการเคลื่อนย้ายเงินทุนไปสู่ผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือผู้ประสบภัยพิบัติ ดังนั้น การคิดริเริ่มกิจกรรมนี้ขึ้นมาจึงถือได้ว่าเหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ที่ได้มาจากผู้เข้าแข่งขัน สามารถที่จะนำไปเสริมสร้างการระดมทุนได้โดยตรง อีกทั้งยังช่วยให้องค์กรต่างๆ เหล่านี้สามารถเข้าถึงเครือข่าย AVPN เพื่อก่อให้เกิดการสร้างผลงานที่เป็นรูปธรรมได้มากยิ่งขึ้นต่อไป”

นอกจากภารกิจหลักของ พรูเด็นซ์ ฟาวน์เดชัน ในการมุ่งส่งเสริมการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติและการฟื้นฟูทั่วภูมิภาคเอเชียมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2556 แล้วโครงการ Disaster Tech Innovation นี้ยังมุ่งให้การสนับสนุนแก่องค์กรต่างๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในด้านนี้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ พรูเด็นซ์ ฟาวน์เดชัน ยังได้ริเริ่มโครงการต่างๆ ที่มุ่งเน้นการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติได้แก่ โครงการขั้นตอนรู้รอด ปลอดภัย (SAFE STEPS)และครงการโรงเรียนปลอดภัย (Safe School) เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ขององค์การสหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป้าหมายที่ 11(พัฒนาเมืองและชุมชนอย่างยั่งยืน) และ เป้าหมายที่ 13(การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ)

ในขณะที่เทคโนโลยียังคงพัฒนาและนำเสนอโซลูชั่นในเชิงลึกอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยป้องกันและฟื้นฟูชุมชนจากผลกระทบจากภัยธรรมชาติ พรูเด็นซ์ ฟาวน์เดชันจึงยังคงมุ่งมั่นในการสร้างการรับรู้ และสนับสนุนองค์กรที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรับมือกับภัยพิบัติ เพื่อค้นหาและต่อยอดประสิทธิภาพของเทคโนโลยีแบบองค์รวมหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการนวัตกรรมเทคโนโลยีภัยพิบัติสามารถเยี่ยมชมได้ที่ https://avpn.asia/disaster-tech/

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่