หน้าแรก Featured การประกันภัยเบ็ดเตล็ด คืออะไร ? (ภาค 3)

การประกันภัยเบ็ดเตล็ด คืออะไร ? (ภาค 3)

0
การประกันภัยเบ็ดเตล็ด คืออะไร ? (ภาค 3)

Insurance Knowledge  โดย ประสิทธิ์  คำเกิด

การประกันภัยเบ็ดเตล็ด คืออะไร? (ภาค 3)

       สวัสดีครับพบกับ Insurance Knowledge กันอีกครั้งนะครับกับการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการประกันภัยกันให้แก่กัน เรายังคงอยู่ในโหมดของการประกันวินาศภัย ที่ว่าด้วยการประกันภัยเบ็ดเตล็ด กันอยู่นะครับโดยในภาค 2 นั้น ทุกท่านได้รับทราบกันแล้วว่าการประกันภัยเบ็ดเตล็ดนั้นมีมากมายหลากหลายแบบ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 หมวดหมู่ ซึ่งเราได้พูดถึงหมวดหมู่ที่ 1-3 กันไปแล้ว สำหรับในครั้งนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องการประกันภัยเบ็ดเตล็ด หมวดหมู่ที่ 4 กันครับว่ามีอะไรกันบ้าง…

       หมวดหมู่ที่ 4 แบบกรมธรรม์การคุ้มครองเกี่ยวกับภัยอื่นๆ อย่างที่ได้เรียนให้ทุกท่านทราบว่าการประกันภัยเบ็ดเตล็ดนั้นเป็นการประกันภัยที่มีลักษณะหลากหลาย กล่าวคือสิ่งใดที่มีความเสี่ยง มีมูลค่า ก็สามารถเอาประกันภัยได้ ดังนั้นนอกเหนือจากหมวดที่หนึ่ง ซึ่งเป็นการประกันภัยเกี่ยวกับตัวบุคคล หมวดที่สอง เป็นการประกันภัยเพื่อความรับผิดต่อบุคคลภ่ายนอก และ หมวดที่สามซึ่งเป็นการประกันภัยเกี่ยวกับตัวทรัพย์ ดังนั้นสิ่งใดใดก็ตามที่นอกเหนือจากหมวดหมู่ที่ 1, 2, 3 แล้ว ก็สามารถเอาประกันภัยได้ ดังเช่น

       – การประกันภัยกำไร ( Profits Insurance) เชื่อว่าหลายผู้อ่านท่านเห็นชื่อการประกันภัยแบบนี้แล้วคงจะมีคำถามว่า อย่างนี้ก็ทำประกันภัยได้หรือ ก็อย่างที่ได้เรียนให้ทุกท่านได้ทราบนะครับว่าอะไรที่มีความเสี่ยงและมีมูลค่า มีสถิติข้อมูลแล้วก็สามารถเอาประกันภัยได้ โดยการประกันภัยนี้จะเป็นแบบที่ธุรกิจที่เป็นนิติบุคคลที่มีการดำเนินธุรกิจที่ต้อการสร้างความมั่นใจความน่าเชื่อถือ ในการบริหารงานโดยอาจมีการกำหนดว่าผลประกอบการนั้นต้องมีกำไร ซึ่งในแผนงานขององค์กรนั้นก็อาจมีความเสี่ยงที่อาจไม่บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด จึงมีการบริหารความเสี่ยงโดยการสร้างหลักประกันภัยด้วยการประกันภัยกำไร เอาไว้กับบริษัทประกันภัย เช่นมีแผนงานองค์กร กำหนดว่าจะมีผลกำไรต่อเนื่องปีละ 100 ล้าน ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นคือ หากในปีหนึ่งปีใดไม่มีผลกำไรหรือมีแต่ไม่ถึงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้นั้นก็จะเกิดความเสียหายตามสัญญานั้นได้ แต่หากมีการเอาประกันภัยไว้ ทางบริษัทผู้รับประกันภันภัย ก็จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อจำนวนเงินที่ไม่ได้ตามเป้าหมายตามที่มีการกำหนดไว้ในสัญญาเป็นต้น การประกันภัยประเภทนี้ไม่ค่อยมีการทำกันสักเท่าไรเหตุผลเพราะต้องมีรายละเอียดที่มากที่เดียว

       – การประกันภัยพืชผล (Crop Insurance) การประกันภัยประเภทนี้จะให้การคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับพืชผลทางการเกษตรเช่น ข้าว อ้อย ข้างโพด มันสัมปะหลัง ฯลฯ อันเกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม น้ำแล้ง ลมพายุ ลูกเห็บ เป็นต้น ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยะรรมชาติแล้วทำให้พืชผลทางเกษตรได้รับความเสียหาย บริษัทที่รับประกัยภัยเอาไว้ก็จะชดใช้เงินตามที่มีการระบุความคุ้มครองต่อความเสียหายที่ได้รับนั้น เช่น นาย สมชาย ทำประกันภัยข้าวนาปีเอาไว้ จำนวน 50 ไร่ซื้อความคุ้มครองไว้กับบริษัทประกันภัยไร่ละ 3,000 บาท ต่อมาได้เกิดอุทกภัย(น้ำท่วม)ขึ้น ทำให้นาข้าวได้รับความเสียหาย จำนวน 20 ไร่ กรณีนี้ บริษัทที่รับประกันภัยนาข้าวของนายสมชายเอาไว้ และภัยที่เกิดขั้นนั้นเป็นไมตามที่มีการกำหนดไว้ในสัญญา ทางบริษัทประกันภัยก็จะชดใช้ความเสียหายของข้าวนั้นให้กับนายสมชายเป็นเงิน 60,000 บาท(20 ไร่ คูณด้วย 3,000 บาท) เป็นต้น

      – การประกันภัยปศุสัตว์ (Livestock Insurance) การประกันภัยประเภทนี้ จะให้การคุ้มครองการตายของสัตว์ของผู้ประกอบอาชีพทำปศุสัตว์เพื่อการพาณิชย์ เช่น โคนม ไก่ เป็ด หมู แพะ ฯลฯ จากการติดโรค หรือมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับสัตว์ของผุ้ประกอบการ นอกจากจะให้การคุ้มครองกรณีการตายของสัตว์อันเนื่องจากอุบัติเหตุหรือการติดโรคของสัตว์แล้วผู้เอาประนภัยสามารถซื้อความคุ้มครองภัยอื่นเพิ่มเติมได้ เช่น ภัยจากการจี้ การปล้น ลักขโมย รวมถึงภัยธรรมชาติต่างๆ อันได้แก่ น้ำท่วม ลมพายุ แผ่นดินไหว เป็นต้น โดยการประกัยภัยประเภทนี้ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ที่มีการเอาประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้

       – การประกันภัยผู้เล่นกอล์ฟ (Golfer Indemnity Insurance) การประกันภัย นี้จะให้การคุ้มครองความเสียหายจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในขณะที่มีการเล่นกอล์ฟ ซ้อม หรือฝึกหัด ทำให้ผู้เอาประกันภัยบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต หรืออุปกรณ์การเล่นกอล์ฟของผู้เอาประกันภัยได้รับความเสียหาย และยังรวมถึงความเสียหายต่อชีวิตร่างกายของบุคคล และทรัพย์สินของบุคคลภายนอกได้รับความเสียหายด้วย การประกันภัยประเภทนี้เหมาะกับผู้เล่นกอล์ฟ ทั่วไป ที่อาจเกิดอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตในระหว่างการฝึกซ้อม หรือการเล่นกอล์ฟ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ในระหว่างที่ผู้เอาประกันภัยฝึกซ้อมอยู่เกิดอุบัติเหตุในระหว่างตีกอล์ฟหมุนวงสวิงทำให้เสียหลักล้ม ตัวเองได้รับบาดเจ็บ ไม้กอล์ฟหลุดมือไปถูกผู้เล่นรายอื่นได้รับบาดเจ็บศรีษะแตก กรณีนี้ บริษัทประกันภัยก็จะให้การคุ้มครองทั้งตัวผู้เอาประกันภัย และผู้เล่นรายอื่นทีได้รับบาดเจ็บนั้นด้วย ส่วนจะรับผิดชอบแค่ไหนเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของเงื่อนไขและจำนวนเงินที่เอาประกันภัยไว้ในแต่ละกรมธรรม์นั้นเอง

        – การประกันภัยวิศวกรรม (Engineering Insurance) การประกันภัยประเภทนี้จะมุ่งเน้นไปที่ความคุ้มครองต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นทางด้านเครื่องจักรและการก่อสร้างต่างๆ ที่เกิดจากอุบัติเหตุ หรือ ภัยธรรมชาติ หรือภัยอื่นๆตามที่มีการกำหนดเอาไว้ในสัญญา ที่ให้ทรัพย์สินและหรือบุคคลภ่ายนอกได้รับความเสียหาย โดยจะมีการแยกย่อยเช่น

       1. การประกันความเสี่ยงภัยทุกชนิดของผู้รับเหมาก่อสร้าง (Contractor’s All Risks Insurance) ซึ่งเป็นการประกันภัยที่จะให้การคุ้มครองความเสียหายต่องานที่กำลังก่อสร้าง เช่น อาคาร โรงงานอุตสาหกรรม สะพาน เขื่อน ฯลฯ ที่เกิดจากอุบัติเหตุ ไฟไหม้ น้ำท่วม การโจรกรรม และภัยอื่นๆ นอกจากจะให้การคุ้มครองต่อสิ่งที่ปลูกส้างนั้นแล้ว ยังให้การคุ้มครองถึงการบาดเจ็บต่อ ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก อันเนื่องจากการปฏิบัติงานของผู้รับเหมาก่อสร้างนั้นด้วย เช่น ในระหว่างที่ผู้รับเหมาทำการตอกเสาเข็มอยู่แล้วทำให้อาคาร บ้านเรือนที่อยู่ใกล้เคียงมีการแตกร้าวเสียหายเกิดขึ้นเป็นผลมาจากการลงเสาเข็ม กรณีนี้บริษัทผู้รับประกันก็จะต้องให้การคุ้มครองต่อความเสียหายของทรัพย์สินของบุคคลภายนอกนั้นด้วย ส่วนจะเป็นจำนวนเงินเท่าไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่มีการระบุเอาไว้ในสัญญาหรือกรมธรรม์แต่ละฉบับนั่นเอง

       2. การประกันภัยเครื่องจักร (Machinery Breakdown Insurance) เป็นการประกันภัยที่ให้การคุ้มครองความเสียหายของตัวเครื่องจักรอันเกิดจากภัยหรืออุบัติเหตุต่างๆ เช่น ความผิดพลาดในการใช้เครื่องจักร วัตถุแปลกปลอมตกลงไปในเครื่องจักร หรือ การดำเนินการใดที่เป็นอุบัติเหตุที่ทำให้เครื่องจักรชำรุดเสียหาย หรือหยุดการทำงาน ซึ่งเป็นภัยตามที่มีการกำหนดเอาไว้แล้ว ความเสียหายของตังเครื่องจักรนั้นทางบริษัทผู้รับประกันภัยไว้ก็จะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นส่วนจะเป็นจำนวนเงินเท่าไร อย่างไรนั้น ก็ต้องดูรายละเอียดของสัญญาหรือกรมธรรม์ที่ได้มีการตกลงกันเอาไว้เป็นสำคัญ

        3.การประกันภัยเครื่องอุปกรณ์อิเลคโทรนิค (Electronic Equipment Insurance) การประกันภัยประเภทนี้จะให้การคุ้มครองต่อความเสียหายของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งเหมาะกับในยุคปัจจุบันอย่างมากเพราะว่าองค์กรต่างๆ ได้มีการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้ในองค์กรกันเป็นส่วนใหญ่ และ อุปกรณ์แต่ละอย่างแต่ละชิ้นก็มีมูลค่ามีราคาที่สูง ทั้งนี้อาจรวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้เก็บบันทึกข้อมูลซึ่งไม่ได้อยู่ในตัวคอมพิวเตอร์และค่าเสียหายอื่นที่เกิดขึ้น อันเนื่องจากอุบัติเหตุตามที่มีการระบุเอาไว้ในสัญญา

         การประกันภัยเบ็ดเตล็ดยังมีอีกมากมายหลายแบบครับ โดยหลักการของการรับประกันภัยนั้น ขอให้ท่านผู้อ่านรับรู้ว่า สิ่งใดที่มีความเสี่ยง มีมูลค่า แล้วสามารถเอาประกันภัยได้ทั้งสิ้น หากสิ่งนั้นยังไม่มีแบบของกรมธรรม์ที่ผ่านการรับรองของ สำนักงาน คปภ.แล้ว หากบริษัทประกันภัยจะทำการรับประกันภัย ทางบริษัทเขาก็จะได้มีการยื่นแบบของกรมธรรม์เพื่อขอรับการรับรองหรือเห็นชอบจาก คปภ. ก่อนจึงจะสามารถทำการรับประภัยได้ ที่ทาง Insurance Knowledge เสนอแก่ทุกท่านนี้ล้วนแต่มีแบบของกรมธรรม์ประกันภัยที่ผ่านการรับรองแล้วเป็นสำคัญ

        ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่มนำมาเสนอให้กับทุกท่านได้เรียนรู้กัน อย่างที่ได้เรียนให้กับทุกท่านได้รับทราบแล้วนะครับว่า การประกันภัยคือหลักประกันเพื่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากภัยในอนาคต ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับตัวเรา กับ ครอบครัว กับ องค์กรของเรา ทรัพย์สินของเรา และ กับ ความเสียหายของบุคคลภายนอก ที่ได้รับความเสียหาย หากมีการเอาประกันภัยไว้ ความคุ้มครองที่ได้รับจากการเอาประกันภัย นั้นสามารถช่วยบรรเทาผลร้ายที่เดขึ้นนั้นได้ อย่างไรก็ตาม..ด้วยความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นนั้นเป็นเหตุที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เราไม่สามารถคาดการณ์หรือรู้ได้ว่าจะมีความเสียหายมากน้อยเพียงใด การจะได้รับความคุ้มครองมาก-น้อยเพียงใดนั้นก็อยู่ที่ผู้เอาประกันภัย กับ บริษัทผู้รับประกันภัย จะมีการตกลงทำสัญญากัน ที่เราเรียกว่า “กรมธรรม์ประกันภัย” นั้นเองครับ ดังนั้นทุกครั้งที่ท่านทำประกันภัยไว้แล้วเมื่อได้รับกรมธรรม์ประกันภัยแล้วต้องตรวจสอบ อ่านและทำความเข้าใจ ว่าเป็นไปตามที่เราประสงค์หรือไม่อย่างไร…ครั้งต่อไปเราจะนำปัญหาหรือข้อสงสัยต่างๆที่เกขึ้นจะระบบการประกันภัยมานำเสนอเพื่อการเรียนรู้ในเรื่องของการประกันภัยกันส่วนจะเป็นเรื่องอะไรนั้น..พบกันฉบับหน้า…สวัสดีครับ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

Thailand Insurance News

Thailand Insurance News

พูดคุย และ ดูแลด้วยมิตรภาพ

I will be back soon

Thailand Insurance News
สวัสดีค่ะ 👋
ต้องการสอบถาม ข้อมูลด้านไหนดีคะ
Messenger