ประกันภัยมีกี่แบบกี่ประเภท ?

0
17222

Insurance Knowledge(๔-๖๒)

ประกันภัยมีกี่แบบกี่ประเภท ?

โดย     

ประสิทธิ์  คำเกิด  ๕ กันยายน ๒๕๖๒

        สวัสดีครับทุกท่าน พบกับ Insurance Knowledge กันเพื่อการรอบรู้ในเรื่องของการประกันภัยกันนะครับ จากครั้งก่อนหน้านั้นเราได้ทราบว่าการประกันภัยนั้นเป็นหลักประกันเพื่อความมั่นคงทางสังคม และ เป็นการโอนความเสี่ยงภัยของเราไปให้บริษัทประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดความเสียหายหรือความรับผิดที่เกิดขึ้นในอนาคต กันไปแล้ว เรามาเสริมสร้างความรู้กันต่อเลยนะครับ

      ประกันภัยมีกี่ประเภท?…ต่อประเด็นคำถามนี้ก็เพื่อจะบอกกับทุกท่านว่าภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 20 ได้มีการกำหนดในเรื่องของการประกันภัยไว้ ในหมวดที่ 2 การประกันภัยวินาศภัย และ หมวดที่ 3 การประกันชีวิต ดังนั้นการประกันภัย จึงแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆดังนี้เลยครับ

1.     การประกันชีวิต หมายถึง การประกันภัยที่มุ่งให้การคุ้มครองต่อการเสียชีวิตหรือการยังมีชีวิตอยู่ของบุคคลหรือการอาศัยการทรงชีพของผู้เอาประกันนภัยเป็นสำคัญในการกำหนดสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง ซึ่งมีกฎหมายรองรับคือ พระราชบัญญัติว่าด้วยกรประกันชีวิต ประเทศไทยเรามีบริษัทประกันชีวิตที่จดทะเบียนมีใบอนุญาติประกอบธุรกิจประกันชีวิตจำนวน 24 บริษัท ซึ่งสามารถดูจากชื่อได้ว่าหากชื่อบริษัทลงท้ายด้วยข้อความ “ประกันชีวิต” หรือ Assurance ซึ่งหมายถึงการประกันภัยที่มีระเวลาที่ยาวนานในการทำประกันเพื่อคุ้มครองกรณีการเสียชีวิต ซึ่งเป็นเหตุการณืที่เกิดขึ้นกับทุกคนแน่นอน หรือ บางบริษัทก็จะใช้คำว่า Life Insurance ซึ่งก็ใช้ได้เช่นเดียวกัน เพียงแต่ส่วนใหญ่เวลาพูดถึงคำว่า Insurance จะหมายถึงการประกันภัยที่คุ้มครองในระยะสั้นเช่น 1,2,3 ปี เป็นต้น และมุ่งให้การคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหายหรือความสูญเสียที่เกิดขึ้นต่อเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยแบบการประกันชีวิตนั้นจะมีอยู่ 4 แบบหลัก ได้แก่

1.การประชีวิตแบบตลอดชีพ

2.การประกันชีวิตแบบเฉพาะกาล

3.การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์

4.การประกันชีวิตแบบมีรายได้ประจำ และ

2.     การประกันวินาศภัย ซึ่งหมายถึง หลักประกันเพื่อความคุ้มครองเมื่อเกิดอุบัติภัยหรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ล่วงหน้าคือ ซึ่งการประกันวินาศภัยนั้นจะมีหลากหลายแบบหากพูดแบบสรุปรวมก็คือนอกจากการประกันชีวิตแล้วก็ถือได้ว่าเป็นการประกันวินาศภัยทั้งสิ้น โดยการประกันวินาศภัยนั้น ก็มีกฎหมายรองรับแยกออกมาอีกฉบับหนึ่งคือ พราะราชบัญญัติประกันวินาศภัย ปัจจุบันในประเทศไทยมีบริษัทประกันวินาศภัย Non-Insurance จำนวน 55 บริษัท เป็นบริษัทประกันวินาศภัยในประเทศ 50 บริษัท และเป็นบริษัทประกันวินาศภัย สาขาต่างประเทศอีกจำนวน 5 บริษัท

         โดยส่วนใหญ่แล้วการประกันวินาศภัยนั้นจะมีระยะเวลาในการคุ้มครองไม่เกิน 1 ปี เป็นการคุ้มครองระยะสั้นๆ หากไม่เกิดเหตุการณ์หรืออุบัติการณืใดเกิดขึ้นในกรอบระยะเวลาความคุ้มครองแล้วจะไม่มีเงินคืนเหมือนกับการประกันชีวิตบางแบบที่เมื่อครบตามระยะเวลาที่คุ้มครองแล้วทางผู้เอาประกันภัยไม่ได้เสียชิวิตผู้เอาประกันภัยก็จะได้รับเงินเอาประกันภัยคืน แต่สำรับการประกันวินาศภัยแล้วหากในช่วงระยะเวลาที่เอาประกันภัยนั้นผู้เอาประกันภัยไม่ได้มีภัยใดใดเกิดขึ้นเลยก็จะไม่มีเงินคืนแต่อย่างใดเพียงแต่ตลอดระยะเวลาที่ให้การคุ้มครองนั้น จะเกิดเหตุกี่ครั้งกี่หนก็ตามบริษัทประกันวินาศภัยจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นทุกครั้งโดยในแต่ละครั้งต้องไม่เกินวงเงินเอาประกันที่กำหนดเอาไว้ในสัญญาทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขกรมธรรม์หรือสัญญาประกันภัยนั้นด้วย โดยหลักการคือ การให้ความคร้องต่อเหตุที่ไม่แน่นอนในอนาคต ซึ่งจะมีแบบของการรประกันวินาศภัยอยู่ 4 แบบด้วยกันได้แก่

1.การประกันภัยอัคคีภัยหรือการประกันภัยทรัพย์สินที่

2.การประกันภัยการขนส่งและภัยทางทะเล

3.การประกันภัยเบ็ดเตล็ด

4.การประกันภัยรถยนต์

           ซึ่งในแต่ละแบบยังมีการแยกย่อยลงไปอีกมากมายเรียกได้ว่ามีมากกว่าเป็น 100 แบบทีเดียว ซึ่งเราจะได้เรียนรู้กันใน Insurance Knowledge ในโอกาสต่อไป

         เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน หากเราใช้คำว่า การประกันภัย ก็จะหมายถึง การประกันชีวิต และ การประกันวินาศภัย แต่พอใช้เป็นภาษาพูดหรือการสื่อสารระหว่างกันเราจะเข้าใจได้ว่า หากพูดว่าบริษัทประกันภัยก็จะหมายถึงบริษัทประกันวินาศภัย และ หากพูดว่าบริษัทประกันชีวิตหรือหมายถึงบริษัทประกันชีวิต แต่หาก เราไปพูดกับชาวต่างชาติแล้วต้องแยกกันให้ชัดเจนนะครับว่า Life Insurance หรือ Assurance   หมายถึง การประกันชีวิต และ Non-Life Insurance หรือ Insurance จะหมายถึงการประกันวินาศภัย

เน้นย้ำว่าการการประกันภัยจึงเป็นหลักประกันที่ดีอย่างหนึ่ง ที่จะค้ำประกันเอาไว้ว่าหากเราเสียชีวิตหรือเป็นอะไรไป หรือ เกิดเหตุการณ์หนึ่งเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นในอน่าคตซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน แล้วเราจะมีหลักประกันจำนวนหนึ่งที่สามารถช่วยเหลือและบรรความเดือดร้อน ให้กับเรา ให้กับบุคคลในครอบครัวของเราได้ในระดับหนึ่ง การประกันภัยจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตเป็นหลักประกันที่ดีสำหรับอนาคต   …เรา Insurance Knowledge สัญญาว่าเราจะเสริมสร้างความรอบรู้ในเรื่องของการประกันภัยให้กับทุกท่านเพื่อให้รู้เท่าทันประกันภัยเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการเอาประกันภัยอย่างแท้จริง แล้วพบกันครับ.

 

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่