20 ปี นิตยสาร Thailand Insurance

0
434

เสวนา “เหลียวหลังแลหน้า ธุรกิจประกันภัยไทย”

          ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2562 เวลา 13.30-16.30 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารสำนักงานแห่งใหม่ สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมจัดเสวนาโดย นิตยสารไทยแลนด์ อินชัวรันส์ สมาคมประกันชีวิตไทย และ สมาคมประกันวินาศภัยไทย        เมื่อปี 2542 เป็นจุดเริ่มต้นของนิตยสารไทยแลนด์  อินชัวรันส์ ซึ่งเป็นปีที่เศรษฐกิจของประเทศไทยอยู่ในภาวะตกต่ำทีเดียว และในปี 2562 เป็นปีครบรอบ 20 ปีของนิตยสารฯ แล้วก็เป็นปีที่เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำเช่นเดียวกัน

          ตลอดระยะเวลาของการเป็นนิตยสารฯ  จาก 2542-2562 ไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไร เราพบเห็นการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจประกันภัย ซึ่งคือธุรกิจประกันชีวิต และธุรกิจประกันวินาศภัยมาอย่างต่อเนื่อง เป็นการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายด้าน           ในแง่ของการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจประกันภัยนั้น จริงๆแล้วมีการปรับเปลี่ยนเป็นช่วงๆ โดยเป็นการปรับ เพื่อให้ธุรกิจโดยรวมร้อยต่อไปสู่ความเป็นสากลมากขึ้นเรื่อยๆ

           เป็นการปรับเปลี่ยน ทั้งในแง่ของตัวบุคคล การบริหารการจัดการ ศักยภาพของพนักงาน การสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ ผลิตภัณฑ์ ช่องทางการขาย การจัดการทางด้านความมั่นคงทางการเงิน การบริการ การจัดการบริหารความเสี่ยง เทคโนโลยี่ที่เกี่ยวข้องกับประกันภัย ฯลฯ

            เรื่องหนึ่งที่เห็นได้ชัดเช่นกัน คือ ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อธุรกิจประกันภัย ต้องยอมรับว่า เปลี่ยนไปมาก จากทัศนคติลบหรือมองไม่ดีนัก จนตอนนี้ประชาชนมองว่า ธุรกิจประกันภัย คือ สิ่งหนึ่งที่สำคัญสำหรับตัวเอง และครอบครัว รวมถึงธุรกิจด้วย           เมื่อธุรกิจประกันภัย มีการเปลี่ยนแปลงแบบหลากหลายตามที่กล่าวข้างต้น ทางนิตยสารฯ จึงเห็นว่า การจัดเสวนาน่าจะเป็นแนวทางหนึ่ง ที่สามารถประมวลความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องหลายๆฝ่าย ว่า ในเวลาที่ผ่านมานั้น ในธุรกิจนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง เรื่องไหนที่ค่อยๆเปลี่ยน และเรื่องไหนที่เปลี่ยนกันแบบฉับพลัน นี่คือประการหนึ่ง ,อีกประการหนึ่ง เป็นการมองไปข้างหน้าร่วมกันว่า จะเกิดอะไรขึ้นอีกบ้างในธุรกิจนี้ และสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลไปถึงด้านใดต่อประเทศและประชาชน

          การเสวนาครั้งนี้ จึงคาดหวังว่า ความคิดเห็นและมุมมองต่างๆที่เกิดขึ้น จะเกิดประโยชน์กับวงการประกันภัยในด้านต่างๆ

          วัตถุประสงค์ของการจัดเสวนา เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางของธุรกิจประกันภัยในประเทศไทย เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจประกันภัย เพื่อการมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ ความเข้าใจในธุรกิจประกันภัยให้กับประชาชน            ส่วนวิทยากรด้านธุรกิจประกันวินาศภัย  คุณอานนท์  วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย ด้านธุรกิจประกันชีวิต มล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ อุปนายกสมาคมประกันชีวิตไทย นักวิชาการประกันภัย ดร.ฐิติวดี ชัยวัฒน์ (ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เขียนหนังสือ การบริหารความเสี่ยงภัยและการประกันภัยในศตวรรษที่21) ด้านเทคโนโลยีและดิจิตอล คุณกิตตินันท์  อนุพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคลม ดิ จำกัด         ปาฐกถานำเข้าสู่การสัมมนาโดย : ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ.           ตลอดงานดำเนินรายการโดย : คุณสิทธิ์ หลีขาว บรรณาธิการบริหาร นิตยสารไทยแลนด์ อินชัวรันส์

วิทยากรกับความเคลื่อนไหวและอนาคตของธุรกิจประกันภัย

            หากมองไปที่ตัววิทยากรทั้งหมด จะทำให้มองเห็นทิศทาง และความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจประกันภัยมีความเด่นชัดครบทุกด้าน ซึ่งประกอบด้วย

ธุรกิจประกันวินาศภัย การเปลี่ยนไปของธุรกิจประกันวินาศภัย ทั้งในแง่ขององค์กรที่ดูแลบริษัทสมาชิก การเปลี่ยนไปของธุรกิจประกันวินาศภัยแต่ละสาขาหรือประเภทประกันภัย ที่เกี่ยวโยงไปถึงความคุ้มครองต่อผู้เอาประกันภัย

ธุรกิจประกันชีวิต การเปลี่ยนไปของธุรกิจประกันชีวิต ทั้งในแง่ขององค์กรที่ดูแลบริษัทสมาชิก การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจประกันชีวิตทั้งในแง่ของผลิตภัณฑ์ ช่องทางการขาย และความคุ้มครองที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มคน

นายหน้าประกันภัย  บทบาทของนายหน้าประกันภัยที่ไม่เหมือนเดิม ส่งผลด้านใดต่อผู้บริโภคประกันภัย

วิชาการประกันภัย การเปลี่ยนแปลงที่มุ่งสู่ความเป็นสากล การจัดการความเสี่ยงของธุรกิจประกันภัยยุคใหม่ ธุรกิจประกันภัยในมุมที่เกี่ยวข้องกับประชากรศาสตร์  ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในอนาคต

ผู้กำกับดูแล  บทบาทด้านการควบคุมและส่งเสริมที่ต้องการเดินไปพร้อมๆกัน จะเกิดอะไรขึ้นบ้างกับองค์กรธุรกิจประกันภัยที่มีความแตกต่างกันของขนาดบริษัทและความแข็งแกร่งทางการเงิน และส่งผลด้านใดต่อประชาชน

เทคโนโลยี่ประกันภัยอินชัวเทคหรือเทคโนโลยี่จะมีบทบาทกับวงการประกันภัยขนาดไหน ส่งผลดี หรือกระทบกับธุรกิจประกันภัยอย่างไร ขณะเดียวกันในมุมมองของผู้บริโภคนั้น มองว่า ประกันภัยสำคัญต่อชีวิตขนาดไหน และควรทำอย่างไรให้ประชาชนเข้าถึงประกันภัยได้มากขึ้น

ภาคประชาชนภายใต้การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจประกันภัยที่มีการพัฒนาการอย่างรวดเร็ว ประชาชนจะต้องเตรียมตัวรับมืออย่างไร              โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 200 คน สำหรับสิ่งที่คาดหวังกับการจัดเสวนา ต้องการเพียงมุมมองและความคิดเห็นของวิทยากรและผู้เข้าร่วมเสวนาครั้งนี้ ซึ่งน่าจะเป็นข้อมูลที่ใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจประกันภัย ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้ นอกเหนือจากเกิดประโยชน์กับองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันภัยแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเรียนรู้ของประชาชนด้วย

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่