อาฑิตยา พูนวัตถุ ผู้บริหารระดับสูง ด้านธุรกิจประกันภัย บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR กล่าวว่า หลังจากที่เปิดให้บริการด้านนายหน้าประกันตั้งแต่ปี 2559 ได้ส่งมอบความคุ้มครองให้ลูกค้าไปแล้วมากกว่า 1 ล้านกรมธรรม์ และจากการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมาทำให้เราเห็นผู้ใช้ประกันมากมายได้รับประสบการณ์ไม่ดี ตั้งแต่ขั้นตอนการซื้อประกันไปจนถึงขั้นตอนการเคลม ซึ่งเราเองมีความมุ่งมั่นที่จะดูแลผู้ใช้ประกันภายใต้แนวคิด “เราเชื่อว่า ความสบายใจ เป็นสิ่งที่ทุกคนควรได้รับจากการซื้อประกัน” เราจึงขอประกาศจุดยืนในการสร้างมาตรฐานใหม่ ในฐานะนายหน้าประกันที่ไม่ใช่เพียงดูแลลูกค้าแค่งานขาย แต่พร้อมดูแลลูกค้าครบกระบวนการไปถึงขั้นตอนการเคลม วันนี้เราพร้อมก้าวไปข้างหน้าอีกขั้น ภายใต้แบรนด์ “ประกันติดโล่” นับเป็นการปรับเปลี่ยนแบรนด์ (Rebrand) จากเดิมประกันติดล้อเปลี่ยนเป็น “ประกันติดโล่” กับสโลแกน “บริการด้วยใจ ตั้งแต่ขายยันเคลม” ซึ่งถือเป็นคำมั่นสัญญาที่จะสร้างความสบายใจและความมั่นใจให้ลูกค้าผู้ใช้บริการกับประกันติดโล่ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ 1.ให้คำแนะนำโดยนายหน้าผู้เชี่ยวชาญ 2.การให้บริการด้วยความโปร่งใส ไม่มีเงื่อนไขแอบแฝง...
เพื่อสร้างความมั่นคงและปลอดภัยในทรัพย์สิน รวมถึงให้ประชาชนมั่นใจว่าทรัพย์สินของบริษัทประกันภัยในส่วนที่นำมาวางไว้กับสำนักงาน คปภ. ได้รับการเก็บดูแลรักษาเป็นอย่างดีและเป็นไปตามกฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า การประกอบธุรกิจประกันภัยต้องมีการวางหลักประกันและเงินสำรองประกันภัยให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งกฎหมายกำหนดให้บริษัทประกันภัยต้องนำหลักทรัพย์มาวางไว้กับนายทะเบียน เพื่อเป็นหลักประกันในการประกอบธุรกิจ นอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดให้บริษัทประกันชีวิตต้องจัดสรรเงินสำรองประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังมีความผูกพันอยู่ และบริษัทประกันวินาศภัยต้องจัดสรรเงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัท (Unearned Premium Reserve : UPR) ให้ครบถ้วนตามกฎหมายกำหนด โดยให้นำหลักทรัพย์ซึ่งคิดเป็นมูลค่าร้อยละ 25 ของส่วนที่จัดสรรแล้วนั้นมาวางไว้กับสำนักงาน คปภ. โดยข้อมูล ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 บริษัทประกันภัย จำนวน 71 แห่ง ได้นำทรัพย์สินลงทุนของบริษัทประเภทพันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย...
นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม  กระทรวงแรงงาน ย้ำ สิทธิการรักษาพยาบาลในระบบประกันสังคม “กรณีเจ็บป่วย” ได้รับความคุ้มครองด้วยการรักษาพยาบาลที่ครอบคลุมทุกโรค ทุกความเจ็บป่วย โดยผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน กว่า 267 แห่ง สะดวก ครบ จบ ในครั้งเดียว และผู้ประกันตนยังสามารถเข้ารับบริการได้ในโรงพยาบาลทุกขนาดตั้งแต่ปฐมภูมิถึงตติยภูมิที่อยู่ภายใต้การลงนามความร่วมมือ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการเลือกเข้ารับการรักษาของผู้ประกันตน สำนักงานประกันสังคมได้มีการพัฒนาสิทธิประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ปี 2566 ที่ผ่านมา สปส. ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ลดความเสี่ยงของโรค NCDs หรือโรคเรื้อรังให้กับผู้ประกันตนมากยิ่งขึ้น ผ่านโครงการดูแลสุขภาพผู้ประกันตนเชิงรุกฯ และตั้งแต่ 1 เมษายน 2567 นี้ ได้ปรับเพิ่ม รายการตรวจสุขภาพให้มีความถี่เพิ่มมากขึ้น สอดคล้องกับปัจจัยด้านอายุและความจำเป็นในการตรวจ เช่น ให้ผู้ประกันตนที่อายุตั้งแต่...
นายสมประโชค ปิยะตานนท์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายกำกับธุรกิจและการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้ออกประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบการลดทุนของบริษัทประกันชีวิต/วินาศภัย พ.ศ. 2567 โดยมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2567 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดขั้นตอนและระยะเวลาในการพิจารณาให้ความเห็นชอบการลดทุนของบริษัทประกันภัย ซึ่งจะทำให้บริษัทเกิดความคล่องตัวในการลดทุน รวมถึงสามารถดำเนินงานที่เกี่ยวข้องได้รวดเร็วมากขึ้นตามกระบวนการดำเนินงานลดทุนของบริษัทประกันภัย นอกจากจะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 แล้ว ภายใต้พระราชบัญญัติประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 ยังกำหนดข้อห้ามมิให้บริษัทกระทำการลดทุนโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คณะกรรมการ คปภ.) ดังนั้น ที่ผ่านมาเมื่อบริษัทยื่นขอความเห็นชอบลดทุนเข้ามาที่สำนักงาน คปภ. แล้วจะมีการพิจารณาและนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ...
นายโสรัจจ์ แรกสกุลชัย ผู้ช่วยเลขาธิการ สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัยให้มีเสถียรภาพและความมั่นคงแล้ว ยังมีภารกิจที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การดูแลและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ให้แก่ประชาชนผู้เอาประกันภัย หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องภายใต้สัญญาประกันภัยให้ได้รับความเป็นธรรม โดยเฉพาะกรณีที่เกิดอุบัติภัยกลุ่มหรือรายใหญ่ ซึ่งมีผู้ประสบภัยเป็นจำนวนมาก ระบบประกันภัยจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งในการเข้าไปเยียวยาความสูญเสียที่เกิดขึ้นให้กับครอบครัวผู้ประสบภัย ดังนั้นในปี 2557 สำนักงาน คปภ. จึงได้ออกคำสั่งนายทะเบียนที่ 39/2557 เรื่อง ให้บริษัทประกันชีวิตรายงานกรณีอุบัติภัยกลุ่มหรือรายใหญ่ และคำสั่งนายทะเบียนที่ 40/2557 เรื่อง ให้บริษัทประกันวินาศภัยรายงานกรณีอุบัติภัยกลุ่มหรือรายใหญ่ โดยกำหนดให้บริษัทประกันชีวิต/ประกันวินาศภัยรายงานข้อมูลต่อนายทะเบียน กรณีที่เกิดอุบัติภัยกลุ่มหรือรายใหญ่ เช่น จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ ผู้เสียชีวิต จำนวนความเสียหาย ข้อมูลการรับประกันภัย ความคุ้มครองและสถานะของกรมธรรม์ประกันภัย ทั้งนี้ เพื่อให้สำนักงาน คปภ....
          กระทรวงแรงงานชี้แจงการแก้ไขเพิ่มเติมร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงภายหลังจากการระบาดของโควิด -19 เพิ่มเติมสิทธิ์ประโยชน์ผู้ประกันตนครอบคลุมทุกสถานการณ์ เผยประเด็นสำคัญให้ขยายอายุผู้ประกันตน มาตรา 33 ถึง อายุ 65 ปี รับเงินสงเคราะห์ลาคลอดเพิ่มเป็น 98 วัน ให้สอดคล้องกับ กฎหมายแรงงาน เพิ่ม 3 มาตราการขอเลือก ขอคืน ขอกู้ ย้ำคงหลักการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนยังคงมีอยู่เช่นเดิม โดยยึดผู้ประกันตนได้รับประโยชน์สูงสุดเป็นสำคัญ             นายพิพัฒน์  รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ชี้แจงหลักการในการเสนอร่าง พ.ร.บ. ประกันสังคม ว่า ด้วยกฎหมายประกันสังคมที่ใช้บังคับในปัจจุบัน มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -...
นางสาวชญานิน เกิดผลงาม ผู้ช่วยเลขาธิการ สายพัฒนามาตรฐานการกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงาน คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ได้จัดทำกรอบแนวทาง เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ของบริษัทประกันชีวิต และบริษัทประกันวินาศภัย เพื่อส่งเสริมธุรกิจประกันภัยได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว โดยกรอบแนวทางฉบับนี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการเตรียมความพร้อมให้ธุรกิจประกันภัยเข้าใจถึงความสำคัญของการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล และสร้างความสามารถในการแข่งขัน สะท้อนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โปร่งใส ตรวจสอบได้ ตลอดจนแสดงถึงบทบาทความรับผิดชอบของธุรกิจประกันภัยต่อผู้มีส่วนได้เสีย อาทิ ผู้เอาประกันภัย คู่ค้า สังคมและชุมชน ตามกิจกรรมห่วงโซ่คุณค่าของการประกันภัย (Value chain) ในแต่ละมิติ ซึ่งจะช่วยดึงดูดความสนใจและสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้เอาประกันภัยและนักลงทุนที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล...
คณะผู้บริหาร บริษัท ไอโออิ กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)  นำโดย คุณฮิเดยูกิ คาราซาวะ กรรมการผู้อำนวยการ, คุณอารีย์ วันแอเลาะ รองกรรมการผู้อำนวยการ, คุณเรียวอิจิ รัมบะ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ, คุณสุเทพ ขันธโสภา ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักผู้บริหาร และคุณวันทนา อยู่วิทยา ที่ปรึกษา เข้าพบ คุณชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยหรือ คปภ. เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสดำรงตำแหน่งเลขาธิการฯ คปภ. พร้อมอวยพรเนื่องในเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ 2567 ณ สำนักงาน คปภ. ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ และในโอกาสนี้ ไอโออิ กรุงเทพ ประกันภัย มีความยินดีที่จะร่วมปฏิบัติตามนโยบายของ คปภ. ในการมุ่งมั่นยกระดับธุรกิจประกันวินาศภัยให้เติบโตอย่างยั่งยืน และดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรมแก่ผู้ถือกรมธรรม์ทุกราย...
นายอาภากร ปานเลิศ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงาน คปภ.) เปิดเผยว่า จากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของรถยนต์ไฟฟ้า(EV) ในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) จึงได้ร่วมมือกับธุรกิจประกันภัยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าขึ้นมาโดยเฉพาะ ภายใต้ชื่อ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า : Battery Electric Vehicle (BEV) ตามคำสั่งนายทะเบียนที่ 47/2566 เรื่อง ให้ใช้แบบ ข้อความ และพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า โดยสมาคมประกันวินาศภัยไทยได้จัดการประชุมชี้แจงแนวปฏิบัติสำหรับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เพื่อให้เกิดมาตรฐานในทางปฏิบัติเป็นไปในทางเดียวกัน เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2567 ณ ห้องอัศวิน แกรนด์ บอลรูม โรงแรมอัศวิน...
คปภ. ออกประกาศนายทะเบียน เรื่อง การขอรับความเห็นชอบการขายหรือให้อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์หรือซื้อทรัพย์สินจากกรรมการบริษัท รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกรรมการบริษัทของบริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2567 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อส่งเสริมธุรกิจประกันภัยทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใสมากขึ้น นายสมประโชค ปิยะตานนท์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายกำกับธุรกิจและการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า นโยบายและทิศทางการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) ประการหนึ่งก็คือ การปรับปรุงกฎหมายและหลักเกณฑ์การกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องโดยแนวทางการออกกฎเกณฑ์และมาตรฐานใหม่ ๆ ในการกำกับดูแลบริษัทประกันภัยจะต้องเป็นกฎเกณฑ์การกำกับที่มีความยืดหยุ่นสอดรับกับสภาพแวดล้อมและบริบทการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ซึ่งหากบริษัทประกันภัยสามารถดำเนินธุรกรรมได้อย่างคล่องตัว และอยู่บนพื้นฐานของการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสมแล้ว ย่อมส่งเสริมให้ธุรกิจประกันภัยเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป สำนักงาน คปภ. จึงได้เร่งปรับปรุงหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว โดยหลักเกณฑ์การกำกับดูแลที่เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 ได้แก่ “ประกาศนายทะเบียน เรื่อง...

ติดตามเราได้ที่

4,892แฟนคลับชอบ
611ผู้ติดตามติดตาม

E-Magazine

Thailand Insurance News

Thailand Insurance News

พูดคุย และ ดูแลด้วยมิตรภาพ

I will be back soon

Thailand Insurance News
สวัสดีค่ะ 👋
ต้องการสอบถาม ข้อมูลด้านไหนดีคะ
Messenger