... สมาคมประกันวินาศภัยไทย แถลงผลประกอบการในรอบ9เดือน คือ มกราคม-กันยายน2566แล้วครับ...ปรากฎว่า ปีนี้ธุรกิจประกันวินาศภัยโดยรวม ยังโตได้ดีครับ...ตัวเลข9เดือน คว้าเบี้ย 210,141ล้านบาท หรือเติบโต 5.2%...มีการคาดการณ์ว่า สิ้นปีนี้ จะมีเบี้ย 285,080ล้านบาท หรือโต4-5%...สมาคมฯแถลงว่า โตได้ขนาดนี้ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนหน้ารัฐบาลใหม่ นั่นหมายถึงมีผลทางในเชิงจิตวิทยา ที่อาจทำให้คนมั่นใจขึ้น ขณะเดียวกันอีกตัวหนึ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้โตก็คือ ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า...รถยนต์ไฟฟ้ามีอิทธิพลจริงๆ......***ลองมาดูแต่ละประเภทการประกันกันครับ....ประกันรถยนต์ โต6% อันนี้ชัดมากคือ ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงการปรับเพิ่มของเบี้ยประกันภาคสมัครใจด้วย...ประกันอัคคีภัย โต2.1%มาจากการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย...ประกันทางทะเลและขนส่ง ลดลง0.6% เป็นผลมาจากส่งออกยังไม่ขยับ...ประกันเบ็ดเตล็ด โต4.6% มาจากประกันความเสี่ยงทรัพย์สิน...***ดูเรื่องเบี้ยที่เพิ่มขึ้นแล้ว ลองมาดูอัตราความเสียหายหรือ Loss Ratioกันบ้าง...โดยรวมทุกประเภท อัตราความเสียหาย 54.5%....ประกันรถยนต์ 59.4%...ประกันอัคคีภัย 23.6%...ประกันทางทะเลและขนส่ง 42.9%...ประกันเบ็ดเตล็ด 47.1%...หากดูอัตราความเสียหายกันแล้ว...
"จีนี่อินชัวรันส์" แจ้งเปลี่ยนชื่อเป็น "สยามสไมล์ประกันภัย"...ภายหลังบริษัทสยามสไมล์คอร์เปอร์เรท จำกัด(บริษัทแม่ของบริษัทสยามสไมล์โบรกเกอร์ จำกัด) ซื้อบริษัท จีนี่อินชัวรันส์(ประเทศไทย) ทางบริษัทจีนี่จึงแจ้งว่า ขณะนี้ได้มีการเปลี่ยนชื่อบริษัทแล้ว...สำหรับบริษัทจีนี่อินชัวรันส์ เดิมมีชื่อว่า บริษัทไชน่าอินชัวรันส์ หลังจากบริษัทจีนี่ฟินเทคเข้ามาซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเก่า จึงทำการเปลี่ยนชื่อจากไชน่าเป็นจีนี่...ขณะที่สยามสไมล์เป็นบริษัทนายหน้าประกันภัยหรือโบรกเกอร์ ที่ส่วนใหญ่ทำธุรกิจประกันอุบัติเหตุกลุ่มนักเรียนและประกันสุขภาพ...อาจารย์ปรีชา ชัยวงค์คำ ประธานกรรมการบริษัทสยามสไมล์โบรกเกอร์ จำกัด ให้เหตุผลกรณีสยามสไมล์ซึ่งเป็นบริษัทโบรกเกอร์ แล้วต้องการเป็นผู้ถือหุ้นหรือเป็นเจ้าของบริษัทประกันภัยว่า เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ไปยังกลุ่มลูกค้า ซึ่งในปัจจุบัน บริษัทโบรกเกอร์มักออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ตรงต่อความต้องการของลูกค้า แต่ปัญหาอุปสรรคก็คือ ผลิตภัณฑ์นั้นๆอาจไม่ตรงกับความต้องการของบริษัทประกัน ที่สยามสไมล์เป็นคู่ค้าด้วย ในเมื่อบริษัทประกันมีหน้าที่ยื่นขออนุมัติแบบประกันจากสำนักงานคปภ. แล้วบริษัทประกันนั้น ไม่ให้ความเห็นชอบกับสินค้าที่คิดขึ้นมา บริษัทโบรกเกอร์ก็ทำอะไรต่อไปไม่ได้เลย..."บริษัทโบรกเกอร์ออกแบบตัวสินค้าก็จริง แต่ยื่นขอคปภ.เพื่ออนุมัติการขายไม่ได้ เพราะเป็นหน้าที่ของบริษัทประกัน รวมทั้งบริษัทประกันก็มีหน้าที่ออกกรมธรรม์ด้วย ที่ผ่านมาเราจึงมักมีปัญหาอย่างนี้ ดังนั้นเราจึงต้องมีบริษัทประกันของเราเอง เพื่อให้เกิดความคล่องตัวทางตลาด"อาจารย์ปรีชาให้ความเห็น...แต่อย่างไรก็ตาม อาจารย์ปรีชา ยังบอกต่อว่า หลังจากจบขั้นตอนการเปลี่ยนชื่อบริษัทแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือ การขอไลน์เซนประเภทของธุรกิจประกันที่ขาย...
...น้องคนหนึ่งจากจังหวัดชุมพร โทร.หาผม โดยบอกว่า "ได้รับหนังสือจากสำนักงานกองทุนประกันชีวิต" ...เป็นหนังสือแจ้งให้ส่งเรื่องขอรับเงินที่ค้างอยู่ที่กองทุนประกันชีวิต... ..น้องบอกว่า จำนวนเงินไม่เยอะ แต่ตอนนี้ กลัวไปหมด เพราะถ้าเข้าเว็บไซต์ของกองทุนประกันชีวิต จะต้องใส่เลขบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อยืนยันตัวตนด้วย ....เมื่อเป็นเช่นนี้ หากเป็นมิจฉาชีพ อาจถูกดูดเงินในบัญชีได้.. ...***ผมได้ความจากน้องเช่นนี้ จึงอาสาตรวจสอบที่กองทุนประกันชีวิตให้ครับ ...ปรากฎว่า ส่งไปถึงผู้เคยเป็นผู้เอาประกันจริง โดยเจ้าหน้าที่บอกว่า คนที่ไม่มีที่อยู่ ทางกองทุนฯก็ขอจากสำนักทะเบียนราษฎร์กระทรวงมหาดไทย โดยส่งเฉพาะหนังสือเท่านั้น ไม่มีการส่งลิงค์ส่งแชทแต่อย่างใด *** ผมจึงคิดว่า เป็นเรื่องที่ดีที่กองทุนประกันชีวิต ส่งหนังสือแจ้งเรื่องดังกล่าวข้างต้นไปถึงคนที่เคยทำประกันชีวิตครับ ...เหตุผลเพราะ คนเหล่านี้ยังมีสิทธิ์ได้รับเงินตามกรมธรรม์ในบางกรณีที่เข้าเกณฑ์ ...เข้าเกณฑ์อย่างไร? ...หนึ่ง : เคยทำประกันชีวิตแล้วไม่สามารถส่งต่อได้ เช่น ส่งไปเกิน3ปี ก็เกิดมูลค่าเงินสดขึ้นไป ซึ่งจำนวนเงินจากมูลค่าเงินสดนี่แหละเป็นของผู้เอาประกัน ถึงแม้จะทิ้งกรมธรรม์ไปแล้ว เขาก็ยังมีสิทธิ์อยู่ ...เงินจำนวนนี้ บริษัทเก็บไว้ได้แต่เอาไปทำอะไรไม่ได้ และมีสิทธิ์เก็บไว้แค่10ปีเท่านั้น หลังจากนั้นต้องส่งไปให้กองทุนประกันชีวิต... ...สอง: ทุนประกันที่กรมธรรม์สิ้นอายุ แต่คนที่ทำประกันไม่ได้ไปแจ้งรับหรือบริษัทไม่สามารถติดต่อได้หรือไม่สามารถติดต่อทายาทได้ หรือกรณีคนทำประกันเสียชีวิต แต่ทายาทหรือผู้รัยประโยชน์ไม่ทราบว่ามีการทำประกัน ...สาม: จำนวนเงินที่บริษัทออกเช็คให้...
... คุณนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ (CEO) บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในปี 2565 ถึงแม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID – 19 เริ่มคลี่คลาย โดยปีที่แล้ว เราเดินหน้าเอาชนะความท้าทายด้วย LOVE MINDSET ปี 2565 บริษัทยังคงเดินหน้าต่อยอดสโลแกน “รักคือพลังของชีวิต” สู่แนวคิด LOVE MINDSET เพื่อสนับสนุนให้คนไทยพร้อมรับมือทุกความไม่แน่นอนของชีวิต ด้วยความรัก 3 ด้าน คือ รักสุขภาพ (Love Your Health) รักการออมวางแผนการเงิน (Love...
จบปี 2565 เบี้ยโตติดลบถ้วนหน้า ขายผ่านนายหน้ามาแรง ส่วนปี 66 อย่างเก่งโตไม่เกิน 2% ... สมาคมประกันชีวิตไทยเผยภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตไทย ปี 65 และ แนวโน้มธุรกิจประกันชีวิตไทย ปี 66 ….นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เผยภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตของปี 2565 ระหว่างมกราคม - ธันวาคม มีบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 611,374 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 0.45 เมื่อเทียบกับปี 2564 จำแนกเป็น เบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ 169,878 ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 0.49 และเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป 441,496 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตลดลงร้อยละ...
.... จากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น ส่งผลให้ชีวิตประจำวันของผู้คนในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศง่ายขึ้น เป็นวิถีแห่งยุคดิจิทัล การเข้าถึงข้อมูล สื่อสังคมออนไลน์ การทำธุรกรรมทางการเงิน การซื้อสินค้าต่าง ๆ ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากเพียงแค่มีโทรศัพท์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ยิ่งในปีที่ผ่านมาหลังจากสถานการณ์ Covid-19 แพร่ระบาด ประชาชนได้เปลี่ยนวิถีชีวิตเป็นแบบ New Normal ทำให้การออกมาทำกิจกรรมนอกสถานที่ลดลงแต่เมื่อดูเรื่องการจับจ่ายใช้สอยกลับมีมูลค่าสูงขึ้น .... จากข้อมูล ปี 2565 ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 70 ล้านคน มีผู้ใช้งานโซเชียลมีเดีย 56.85 ล้านคน คิดเป็น 81.2% มียอดการซื้อขายสินค้าออนไลน์ 682,920 ล้านบาท เติบโตขึ้น 160.22% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา (2564) ... นอกจากประโยชน์อันมากมายที่ผู้ใช้ได้รับจากเทคโนโลยีอันทันสมัยก็ยังมีสิ่งที่แฝงมาด้วยภัย ที่อาจคุกคามชีวิตและทำให้สูญเสียทรัพย์สินเงินทองได้ง่ายจากเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน ดังนั้น...
ครึ่งปีแรก2565 ของธุรกิจประกันชีวิต เบี้ยสุขภาพนำ ขณะที่ช่องทางตัวแทนและดิจิตัลโตเป็นบวก นอกนั้นติดลบ ...*** ภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตในช่วงครึ่งแรกปี 2565 ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน มีเบี้ยประกันภัยรับรวมอยู่ที่ 289,097 ล้านบาท เติบโตลดลงร้อยละ 1.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2564 โดยจำแนกเป็น เบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ 79,685 ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 4.75 และเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไป 209,412 ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 0.82 โดยมีอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ร้อยละ 82 ...มองมาที่เบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ ประกอบด้วย 1.) เบี้ยประกันภัยรับปีแรก 49,331 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.79 2.) เบี้ยประกันภัยจ่ายครั้งเดียว 30,354...

0
โดย : สิทธิ์ บ้านไทยแลนด์ เวลาที่เราจะพูดหรือจะทำอะไรก็ตาม ต้องอยู่ภายใต้เหตุผลอันสมควรครับ... ไม่ใช่ทำเพื่อปกป้องใครหรือหน่วยงานใด เพียงฝ่ายเดียวครับ...แต่จะต้องพูดและทำเพื่อ 'ปกป้องหลักการและความถูกต้อง' ให้คงอยู่ต่อไปให้ได้ **มีหลายท่าน เข้าใจว่า บริษัทประกันภัย จะทำอะไรโดยพลการก็ได้...ออกตัวสินค้าแบบไหนก็ได้ จะคิดเบี้ยเท่าไหร่ก็ได้... อยากจะบอกว่า ถ้าเป็นต่างประเทศ ใช่ครับ...เขาเปิดเสรีกัน เสรีในเรื่องการคิดตัวสินค้า เสรีในเรื่องของการกำหนดเบี้ยประกัน... แต่ประเทศไทย ไม่ใช่ครับ...ไม่ได้เป็นอย่างนั้น...เรามีหน่วยงานกำกับธุรกิจประกันภัย...กำกับแบบไม่ได้ปล่อยเสรีอะไรมากมาย ** อย่างเรื่องตัวสินค้าที่บริษัทประกันออกขายก็เหมือนกัน แน่นอนว่า ต้นเรื่องอาจมาจากบริษัทประกัน ...แต่ในกระบวนการ บริษัทประกันต้องเสนอไปยังหน่วยงานหน่วยงานกำกับซึ่งหมายถึงคปภ. เพื่อขอความเห็นชอบ...ทั้งตัวรายละเอียด เงื่อนไข และทุกข้อความ ต้องผ่านความเห็นชอบจากสำนักงานคปภ...ถึงจะเอามาขายได้...เรื่องอย่างนี้กำหนดไว้ในมาตรา 29 ของพ.ร.บ.ประกันวินาศภัยครับ ***ขณะที่เรื่องเบี้ยประกัน ก็กำหนดไว้ในมาตรา30 ของพ.ร.บ.ฉบับเดียวกันว่าจะต้องได้รับความเห็นชอบ จากสำนักงานคปภ.เช่นกัน.......ต้นทางมันมาอย่างนี้ครับ...ซึ่ง'ประกันโควิด' ที่กำลังเป็นประเด็นปัญหาก็มีต้นทางแบบนี้เช่นกัน...ขึ้นอยู่กับว่า "ใครเป็นคนเริ่มก่อน?"... ***ผมหยิบยกเรื่องนี้มาพูดถึง ก็เพื่อให้เข้าใจหลักการและความถูกต้องในเบื้องต้นก่อน........ส่วนเรื่องระหว่างทาง ใครควรรับผิดชอบบ้าง ...ค่อยมาพูดถึงตอนต่อๆไปครับ..."ไม่ควรมีใครรับชอบอย่างเดียว...
บางครั้ง ก็รู้สึกสงสาร'สำนักงานกองทุนประกันวินาศภัย' ...สงสารเพราะต้องรับงานต่อในการจัดการเรื่องเคลมกรณีที่บริษัทประกันล้ม...ด้วยกำลังคนที่น้อย และเงินในกองทุนที่มีไม่เพียงพอ จึงทำให้หนักใจ... แต่เป็นความหนักใจที่อ้าปากบอกใครไม่ได้.... **ด้วยภารกิจที่ยังล้นมาตั้งแต่บริษัทประกันอื่นๆ ที่ล้มไปก่อนหน้านี้ ที่ยังแก้ไม่จบ...บวกกับที่ล้มใหม่ๆ สำนักงานประกันวินาศภัยแทบจะบอกว่า ไม่ไหวแล้ว... ** เอาล่ะ! เรามาดูกันว่า นับจาก บริษัทเอเชียประกันภัย และ บริษัทเดอะวันประกันภัย สังเวยประกันโควิดจนต้องล้มลงนั้น เป็นยังไงกันบ้าง?... *สิ่งที่เกิดตามมาหลังถูก คปภ. สั่งปิดกิจการ ก็คือ เรื่องการจ่ายเคลมประกันโควิดและการเคลมประกันประเภทอื่นๆ จะถูกโอนไปที่สำนักงานกองทุนประกันวินาศภัย ให้รับผิดชอบ ในการจ่ายค่าเคลม...จ่ายหรือดำเนินการแบบไหน? *กรมธรรม์ประกันโควิด : หากยังไม่หมดอายุ จะถูกยกเลิก และคืนเบี้ยประกันตามจำนวนวันคุ้มครองที่เหลืออยู่ หรือในกรณีที่ลูกค้าต้องการมีประกันโควิดต่อไป ลูกค้าจะต้องไปยื่นเรื่องเพื่อไปเปลี่ยนเป็นประกันโควิดแบบโคม่ากับบริษัทประกันอื่นๆที่เข้าร่วมโครงการเยียวยา ตามแนวทางที่ คปภ. กำหนดไว้...ส่วนลูกค้าที่ติดเชื้อโควิด ก่อนวันที่บริษัทถูกสั่งปิดกิจการ ลูกค้าคนนั้นจะต้องไปยื่นเรื่องใหม่กับสำนักงานกองทุนประกันวินาศภัยเพื่อขอรับค่าเคลม...ดูๆ แล้ว กรณีที่ยังไม่ติดเชื้อ ยุ่งยากไหมครับ? ...พอยุ่งยากแบบนี้ ผู้เอาประกันโควิดจำนวนมากที่ยังไม่ได้ติดเชื้อตัดสินใจทิ้งกรมธรรม์โดยไม่ขอรับเบี้ยคืนครับ... เหตุผลเกิดจาก...
ขอพูดถึงกรณีบริษัทอาคเนย์ประกันภัยกับประเด็นรถเบนซ์ที่เป็นลูกค้าของบริษัทฯ กับมอเตอร์ไซค์ของน้องหญิงที่เป็นผู้เสียชีวิตหน่อยครับ...ผมไม่แตะต้องว่า ใครเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิดครับ***...แต่ผมแค่มาบอกว่า ...อาคเนย์ประกันภัยยอมทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก...ยอมทำเรื่องที่จบง่ายให้ยืดเยื้อ...โดยความจริงแล้ว อาคเนย์ประกันภัยสามารถจัดการเรื่องนี้ได้ โดยไม่ต้องถึงศาล และไม่ต้องมาถึงมือของคปภ. ...ที่สำคัญ สามารถจัดการได้โดยที่ไม่ทำให้เกิดข่าวในทางเสื่อมเสียต่อบริษัทฯ...***อาคเนย์ประกันภัยต้องจัดการอย่างไร?...คืออย่างนี้ครับ...ปกติเอาทางสังคมกันก็แล้วกัน ระหว่างรถยนต์กับมอเตอร์ไซค์ ถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา รถยนต์จะเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่แล้ว...เสียเปรียบทุกกรณี...หากไม่มีภาพ ไม่มีกล้องวงจรปิด ที่ระบุถึงเหตุที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน รถยนต์จะกลายเป็นฝ่ายผิดเต็มประตูครับ...เมื่อเป็นเช่นนี้ กรณีที่เกิดขึ้นกับน้องหญิง ผมจึงคิดว่า อาคเนย์ประกันภัยไม่ควรสู้ตั้งแต่แรก ...หลังเกิดเหตุเมื่อเดือนพฤษภาคม 2564 อาคเนย์ประกันภัยควรรีบไปถึงบ้าน แล้วก็จ่ายเงินไปเลย...*** การรีบจ่ายแบบนี้ ตัดปัญหาทั้งหมด...และได้ภาพในทางที่ดีด้วย...อย่างน้อย อาคเนย์ก็สามารถบอกได้ว่า ไม่เอาความถูกความผิดว่าใครเป็นคนก่อ แต่บริษัทขอจ่าย ถือว่าเป็นสินไหมฯกรุณากัน....ทำแบบนี้ได้ใจกว่าครับ...และไม่ลุกลามบานปลายมาถึงตอนนี้...*** แต่เมื่ออาคเนย์ประกันภัยไม่ยอมจัดการ ยอมสู้ ยอมหักไม่ยอมงอ...ถึงที่สุดก็เสื่อมเสีย และถึงที่สุดคปภ.ก็มีมติให้จ่าย แล้วถึงที่สุดอาคเนย์ก็ต้องยอมจ่ายแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้...เรื่องนี้ต้องบอกว่า เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการล้วนๆครับ...

ติดตามเราได้ที่

4,892แฟนคลับชอบ
611ผู้ติดตามติดตาม

E-Magazine

Thailand Insurance News

Thailand Insurance News

พูดคุย และ ดูแลด้วยมิตรภาพ

I will be back soon

Thailand Insurance News
สวัสดีค่ะ 👋
ต้องการสอบถาม ข้อมูลด้านไหนดีคะ
Messenger