CIMB THAI ตอกย้ำ “ธนาคารอาเซียนขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล” ตั้งเป้าปี 2567 สินเชื่อในอาเซียนโต 10%

0
99

CIMB THAI โฟกัส 4 จุดแข็งหลัก ASEAN, Digitalization, Wealth & Consumer Finance Solutions และ Sustainability  ชูวิสัยทัศน์เป็น ‘Digital-led Bank with ASEAN Reach’ ‘ธนาคารอาเซียนขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล’ ด้วยเครือข่ายความแข็งแกร่งของ CIMB Groupตั้งเป้าสินเชื่อในอาเซียนปี 2567 โต 10%

พอล วอง ชี คิน กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวถึง ยุทธศาสตร์ปี 2567 ว่ายังคงมุ่งมั่นในการเป็น Digital-led Bank with ASEAN Reach หรือ ธนาคารอาเซียนขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล โดยใช้เครือข่ายความแข็งแกร่งของ CIMB Group มาช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและเสริมจุดแข็งของซีไอเอ็มบี ไทย ใน 4 ด้าน คือ ASEAN, Digitalization, Wealth & ผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อลูกค้ารายย่อย และ Sustainability 

จากการโฟกัสที่ ASEAN ด้วยกลยุทธ์เชื่อมโยงเครือข่ายกลุ่ม CIMB ในอาเซียนมาอย่างต่อเนื่อง สามารถนำพาบริษัทไทยขยายธุรกิจข้ามประเทศเปิดตลาดใหม่ด้วย ASEAN Total Solutions ส่งผลให้ธุรกรรมข้ามพรมแดนในปี 2566 เติบโตเกินเป้า ดังนั้นในปี 2567 จึงตั้งเป้าหมายปล่อยสินเชื่อในอาเซียนโต 10% เพื่อบริการลูกค้าที่ต้องการธุรกิจในมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และกัมพูชา คู่ขนานไปกับการดูแลธุรกรรมทางการเงินให้แก่ลูกค้าองค์กรและสถาบันการเงินในประเทศ ผ่านสินเชื่อ บริการธุรกรรมจัดการเงิน บัญชีธุรกิจ และบริการชำระเงิน  

โดยกลยุทธ์สำคัญคือ Digitalize for Value ที่ใช้ดิจิทัลและเทคโนโลยียกระดับการให้บริการผ่านแอพลิเคชั่น CIMB THAI Digital Banking ส่งผลให้ธุรกรรมเติบโตอย่างรวดเร็ว สามารถขยายฐานบัญชีดิจิตอลเพิ่มเป็น 4 แสนราย ปริมาณธุรกรรมบนแอปทะยานสู่ 90% ธุรกรรมจองซื้อหุ้นกู้และพันธบัตรทั้งตลาดแรกและตลาดรองเกิน 6.6 หมื่นล้านบาทนับตั้งแต่ปี 2563  ซึ่ง Digital Ecosystem ที่ครอบคลุม ส่งผลให้ธนาคารคว้ารางวัล  Wealth Management Platform of the Year – Thailand 4 ปีติดต่อกัน  และเตรียมปรับโฉม UX/UIเปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินใหม่ๆ ยกระดับความสะดวกสบายในปีนี้    

สำหรับ Wealth Management ให้ความสำคัญกับการแนะนำลูกค้า เลือกลงทุนให้ถูก ‘จังหวะ’ ผ่านผลิตภัณฑ์ที่ CIMB Thai คัดสรรมาให้ ทั้งหุ้นกู้ในตลาดแรก หุ้นกู้ตลาดรอง หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง เงินฝากดอกเบี้ยสูง เงินฝากสกุลต่างประเทศ (FCD) กองทุน ประกัน บริการ Wealth Credit Line (วงเงินพิเศษเพื่อมอบสภาพคล่องให้ลูกค้าที่มีเงินลงทุนกับธนาคาร) รวมไปถึง Offshore fund โดยเฉพาะ Alternative Investment มีความน่าสนใจที่ไม่อ้างอิงต่อปัจจัยหลักอย่างทิศทางดอกเบี้ยหรือค่าเงิน แต่อยู่บนสินทรัพย์ที่ไปลงทุน  โดยปีนี้ตั้งเป้าขยายธุรกิจและฐานสมาชิก CIMB Preferred (ลูกค้าที่มีเงินฝากหรือเงินลงทุน 3 ล้านบาทขึ้นไป) ให้เติบโตอีก 12% จากปัจจุบันมีลูกค้า 1 แสนราย 

ด้านธุรกิจรายย่อย โฟกัสที่สินเชื่อยานยนต์  ล่าสุดได้เปิดตัว ‘One Auto Platform’ บริการสินเชื่อยานยนต์ ครอบคลุมทั้งรถยนต์ และจักรยานยนต์ ผ่านซีไอเอ็มบี ไทย ออโต้ โดยยกระดับความสามารถในการแข่งขัน และเพิ่มความหลากหลายของธุรกิจผ่านบริการใหม่ อาทิ สินเชื่อจำนำทะเบียนทั้งแบบโอนเล่ม และไม่ต้องโอนเล่ม 

โดยทุกมิติของการทำธุรกิจจะขับเคลื่อนบนแกน Sustainability สอดรับกับเป้าหมายกลุ่ม CIMB ที่จะบรรลุ Green, Social Sustainable Impacted Products and Services (GSSIPS) 1 แสนล้านริงกิต หรือ 7.7 แสนล้านบาทในปี 2567 โดยปีที่ผ่านมาได้สนับสนุนสินเชื่อความยั่งยืน 1.5 หมื่นล้านบาท

นอกจากนี้การทำงานบนวิถีความยั่งยืน Net Zero ปี 2567 ตั้งเป้าหมายจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลง 36% เทียบกับปี 2562 (scope 1 และ 2)  และในปีนี้ ธนาคารจะจัดสัมมนา The Cooler Earth Sustainability Series ตลอดทั้งปี ทั้งการฉลองวันสิ่งแวดล้อมโลก, เสวนาโต๊ะกลมสินเชื่อยั่งยืน และสัมมนาใหญ่ร่วมกับ UN ESCAP อีกครั้ง จากที่จัดครั้งแรกปี 2566  

 “เราโฟกัสทั้ง 4 จุดแข็ง ตามหลัก Customer-centric ส่งผลให้ Rakuten Group จัดให้เป็นธนาคารที่ลูกค้าให้คะแนนความพึงพอใจเป็นอันดับหนึ่งเมื่อเทียบกับตลาด (คะแนน NPS : Net Promoter Score) ในปี 2566  ด้วยคะแนน 85 จากปีก่อน 63 คะแนน จึงตั้งเป้ารักษามาตรฐาน ด้วยแผนพัฒนาขั้นตอนการให้บริการดียิ่งขึ้นไปเพื่อส่งมอบบริการที่เป็นเลิศผ่านทุกจุดบริการ (Touchpoint) แอป สาขา และ Wealth Center สอดคล้องกับค่านิยมของ CIMB Thai ในการเป็น customer-centric organization” พอล วอง กล่าว