SCB WEALTH ยกระดับเทคโนโลยีการลงทุน ตอบโจทย์ลูกค้าในทุกมิติ

0
102

SCB WEALTH เผยสินทรัพย์การลงทุนเติบโตกว่า 7% เทียบกับอุตสาหกรรมที่โต 4% สินเชี่อ Wealth   Lending เติบโต 70% ตั้งเป้าอีก 3 ปี ขึ้นแท่นที่หนึ่งในใจลูกค้า ผู้นำด้านสินทรัพย์ภายใต้บริหารจัดการ และผู้นำการบริหารภาพรวมพอร์ตโฟลิโอสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืนแก่ลูกค้า  พร้อมบริการ Wealth4U ที่วิเคราะห์ข้อมูลด้วยAI และยกระดับ WPlan แพลตฟอร์มดูแลความมั่งคั่งแบบครบวงจร

ดร. ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ WEALTH  ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า สินทรัพย์การลงทุนภายใต้การบริหารจัดการของกลุ่มลูกค้า SCB WEALTH เติบโตกว่า 7% สูงกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยของอุตสาหกรรมที่โต 4% จากฐานลูกค้า Wealth และมีศักยภาพเป็น Wealth มากกว่า 1 ล้านคน  จากการคัดสรรผลิตภัณฑ์การลงทุนที่ตอบโจทย์ตามสภาวะตลาด  เช่น การลงทุนในสกุลเงินดอลล่าร์  ในกลุ่มตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำระยะสั้น หรือกองทุนกลุ่มตราสารตลาดเงิน (Money Market) หรือ ผลิตภัณฑ์ที่ให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจในภาวะดอกเบี้ยสูง เช่น กองทุนตราสารหนี้ประเภทกำหนดอายุโครงการ (Term Fund)

นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ประกันและสินเชื่อเพื่อต่อยอดความมั่งคั่ง  (Wealth   Lending  ประเภท Property Backed Loan และ Lombard Loan) มียอดสินเชื่อเติบโตกว่า 70%  โดยประกันชีวิตควบการลงทุน Regular Unit-linked ยังครองอันดับ 1 ในช่องทางธนาคาร (Bancassurance) ติดต่อกัน 3 ปีซ้อน จึงคาดว่ารายได้จากกลุ่มธุรกิจ Wealth ในปี2566 จะเพิ่มขึ้นกว่า 20% เมื่อเทียบกับปีก่อน

ทั้งนี้ ธนาคารกำหนดเป้าหมายในการเป็น “ดิจิทัลแบงก์อันดับหนึ่งด้านการบริหารความมั่งคั่ง” เพื่อเป็น Thought partners ที่ดีที่สุดและอยู่กับลูกค้าทุกช่วงจังหวะการลงทุน โดยตั้งเป้าในอีก 3 ปี จะเป็น

1) อันดับหนึ่งในใจลูกค้า ภายใต้กลยุทธ์ Digital Wealth  with Human  Touch

2) อันดับหนึ่งสินทรัพย์ภายใต้บริหารจัดการในเชิงของผู้ให้คำปรึกษา (Advisory) ที่ได้รับความไว้วางใจและเป็น Main Wealth Bank ของลูกค้า

3) ผู้นำในการบริหารภาพรวมพอร์ตโฟลิโอเพื่อก้าวข้ามทุกความท้าทายและสร้างผลลัพธ์ด้านผลตอบแทนให้แก่ลูกค้าทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

นายศรชัย สุเนต์ตา, CFA SCB Wealth Chief Investment Officer ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารฝ่าย Investment Office and Product Function กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ความผันผวนในปี 2566 จากความกังวลเศรษฐกิจถดถอย อัตราดอกเบี้ยสูง สงครามรัสเซีย-ยูเครน ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทย ส่งผลให้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ชัดเจน ล่าช้า  เงินทุนยังคงไหลออกไปต่างประเทศ  อาจนำไปสู่เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ (Uneven slowdown)

โดยในปี 2567 ยังมีหลายความเสี่ยงที่ต้องจับตา ทั้งภาวะเศรษฐกิจเติบโตช้าแต่เงินเฟ้อสูง, ธุรกิจที่มีหนี้ใกล้ครบกำหนดจำนวนมาก มีความเสี่ยงที่ต้องกู้ยืมใหม่ (rollover)ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น, ความไม่แน่นอนทางการเมืองจากการเลือกตั้งในประเทศหลักๆ และสภาพคล่องทั่วโลกที่ลดลงจากการใช้นโยบายดูดเงินในระบบกลับออกมา (Quantitative Tightening : QT)

การลงทุนของกลุ่มลูกค้า Wealth ที่รับความเสี่ยงได้สูงและต้องการผลตอบแทน 7-10% จึงต้องระมัดระวัง โดยแบ่งเงิน 15% ไว้ในบัญชีเงินฝากสกุลเงินต่างประเทศ (FCD) สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือเลือกรับผลตอบแทนระหว่างรอแลกอัตราแลกเปลี่ยนที่ต้องการ ด้วย Dual Currency Note Pricing (DCI), ตราสารหนี้ 15% เน้นตราสารหนี้ระยะยาว, หุ้น 30% ทั้งในไทยและต่างประเทศ เน้นกลุ่มคุณภาพเติบโตสูงและเกี่ยวข้องกับ ESG ,หุ้นกู้อนุพันธ์ Capped Floored Floater Noted ที่จำกัดผลตอบแทนต่ำสุด แลกกับการจำกัดผลตอบแทนสูงสุด 10%, หุ้นกู้อนุพันธ์อื่นๆ 10%, สินทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ (Private Asset) 10% และสินค้าโภคภัณฑ์ 10% เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนต่างๆ

สำหรับการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาการลงทุน ในส่วนของ SCB Easy มีบริการ Wealth4U โดยนำปัญญาประดิษฐ์ (AI)มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์กองทุนที่เหมาะสมสำหรับลูกค้า พัฒนาบัญชีหุ้นกู้ SCB Easy-D  ให้สามารถขาย IPO ให้บุคคลธรรมดาบนสมาร์ทโฟน และรับฝากหุ้นกู้ผ่านช่องทางดิจิทัลแบบ 100%  และธนาคารยังได้รับอนุญาตจาก ธปท. ให้เสนอขายพันธบัตรรัฐบาลผ่านแพลตฟอร์ม และซื้อขายกองทุนรวมจากหลากหลาย บลจ.

นอกจากนี้ยังมีแผนยกระดับ wPlan แพลตฟอร์มที่ดูแลลูกค้าใช้งาน โดย

1)โซลูชันดูแลความมั่งคั่งของลูกค้าแบบครบวงจรเฉพาะบุคคล เช่น การทำ Portfolio Allocation  

2)ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละบุคคลมากขึ้น

3)ผลิตภัณฑ์การลงทุนจากช่องทางการลงทุนที่หลากหลาย (Omni-Channel) 

4) ยกระดับควบคุมระดับความเสี่ยงให้เหมาะสมกับลูกค้า ควบคู่กับการมี 2 ช่องทางดิจิทัล ให้ลูกค้าเข้าถึงข้อมูลการลงทุนได้สะดวกและง่าย ในการเรียกดู Statement การลงทุนได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านแพลตฟอร์ม WealthDIY และ Line ซึ่งในอนาคตจะยกระดับขีดความสามารถของ Line SCB WEALTH ให้ตอบโจทย์ความต้องการและสิทธิพิเศษของลูกค้า

นายสุกิจ  อุดมศิริกุล  กรรมการผู้จัดการ  สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์  เอกซ์  จำกัด   (INVX) เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นไทยในปี 2024 ยังคงผันผวนแต่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าปี 2023 เนื่องจากระดับ SET Index ในปัจจุบันต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน  โดยคาดว่ายังมีความผันผวนสูงช่วงครึ่งปีแรก และปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง โดยประเมินเป้าหมาย SET Index ณ สิ้นปี 2024 อยู่ที่ประมาณ 1,750 จุด

โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าลงทุนในปี 2024  แบ่งเป็น 3  ประเภท   คือ 1) กลุ่มที่ผลการดำเนินงานเติบโตสูงกว่าค่าเฉลี่ย ได้แก่ กลุ่มค้าปลีก กลุ่มการแพทย์ กลุ่มขนส่ง 2) กลุ่มที่ราคาลดลงจากการที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปัจจัยพื้นฐานยังคงแข็งแกร่ง ได้แก่ ธุรกิจโรงไฟฟ้า และ REIT/IFF 3) หุ้นที่ได้ ESG Score สูง  ระดับ AAA จาก SET แต่ราคาลดลงมามาก    

นอกจากนี้  INVX มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อนำมาให้บริการนักลงทุนบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างความสะดวก รวดเร็ว ในการเข้าถึงบริการด้านการลงทุนแบบครบวงจร เช่น การสร้าง Application ที่สามารถลงทุนได้ครบทุกสินทรัพย์เพียงแอปเดียวหรือตัวช่วยแจ้งข้อมูลข่าวสาร (Personalized Wealth Alert) ผ่านแอป InnovestX และ Streaming สำหรับการลงทุนในหุ้นไทย และทาง INVX research ได้มีการนำเทคโนโลยี ChatGPT- Open AI มาช่วยพัฒนาการทำงานวิจัยทั้งในเชิงคุณภาพและเพิ่มปริมาณให้ครอบคลุมจำนวนหุ้นได้มากขึ้น โดยใช้ระยะเวลาจัดทำลดลง ล่าสุดประสบความสำเร็จในการจัดทำบทวิเคราะหุ้นต่างประเทศโดยใช้ ChatGPT ช่วยเขียนบทวิเคราะห์

นายอิษฎา หิรัญวิวัฒน์กุล  กรรมการและหุ้นส่วนอาวุโส  บริษัท บอสตันคอนซัลติ้ง กรุ๊ป  (BCG) กล่าวว่า จากการศึกษาของ BCG พบว่า ในระยะ 2-3 ปีข้างหน้าตลาด Wealth Management ของไทย จะเติบโตประมาณ 4.5%  โดยมี 4 เทรนด์หลักในธุรกิจ  Wealth  Management  ในภูมิภาคเอเชียและไทย ได้แก่ 1) ลูกค้ากลุ่ม High Net Worth ต้องการคำปรึกษาางแผนส่งต่อมรดกให้ทายาทและการวางแผนเพื่อเตรียมเกษียณ 2) สถาบันการเงินข้ามชาติ ทั้งเล็ก กลาง ใหญ่ และFintech เข้ามาสู่ธุรกิจมากขึ้น การแข่งขันร้อนแรง-7ho 3) ลูกค้าต้องการคำแนะนำที่หลากหลายครบถ้วนมากขึ้น รวมไปถึงการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ ที่เมื่อก่อนเข้าถึงได้แต่เฉพาะกลุ่มลูกค้า Ultra High Net Worth 4) ลูกค้าต้องการประสบการณ์ในการใช้บริการการบริหารความ มั่งคั่งแบบไร้รอยต่อ  เช่น การจัดพอร์ตการลงทุน การค้นหาข้อมูลอัพเดทเกี่ยวกับการตลาดและผลิตภัณฑ์หรือหรือการทำรายการซื้อขายและมอนิเตอร์พอร์ตการลงทุน

โดย BCG ได้ทำการวิจัยกับผู้บริโภคในหลายประเทศ  พบว่าเทคโนโลยีจะมีบทบาทมากขึ้น  แต่ก็ ไม่ได้แทนที่คนทั้งหมด ลูกค้า High Net Worth ยังตงต้องการการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและการได้รับความดูแลจาก relationship manager (RM)  ซึ่งเทคโนโลยีเข้ามาช่วยใน 5 เรื่องไปนี้

1.ทำให้ลูกค้าใช้บริการ wealth management ได้ง่ายที่สุด เช่น การทำ digital KYC, การประเมินความเสี่ยง

2. สร้างความโปร่งใส เช่น wealth dashboard, family wealth view, benchmarks

 3. ทำให้การบริหารความมั่งคั่งเฉพาะเจาะจงกับลูกค้า (personalized) เช่นการสร้างเป้าหมายในการบริหารความมั่งคั่งการจัดวางพอร์ตการลงทุน

 4. ตอบสนองความต้องการเชิงรุก เช่น การส่ง alert และข้อความต่างๆ

 5. การใช้งานง่ายและสนุก เช่น dynamic scenario planning, และเครื่องมือต่างๆที่ใช้ในการคำนวณ

ดร. สาธิต ผ่องธัญญา ผู้อำนวยการอาวุโส  Wealth Planning and Family Office ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า เทรนด์กฎหมายในปีหน้า ยังคงต้องติดตามกฎหมายต่างๆ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น การเก็บภาษีการรับมรดกที่อาจมีการปรับปรุงกฎหมายและภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อให้การจัดเก็บภาษีสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

ส่วนกฎหมายภาษีการลงทุนต่างประเทศ ตามที่กรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.161/2566 เมื่อเดือนกันยายน 2566 และ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566  มีผลให้นักลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย 180 วันขึ้นไป  หากมีเงินได้จากต่างประเทศ เช่น เงินปันผล กำไรจากการขายหุ้น ดอกเบี้ย และได้นำเงินเข้ามาในประเทศไทยไม่ว่าจะนำเข้ามาในปีใดก็ตาม จะต้องนำมารวมเสียภาษีในประเทศไทยในปีนั้น ตามหลักแล้วจะต้องเสียภาษีตามอัตราภาษีก้าวหน้า โดยหลักเกณฑ์ใหม่นี้จะใช้สำหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป  

การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์นี้ อาจส่งผลกระทบต่อนักลงทุนที่ได้ไปลงทุนในต่างประเทศ  แต่ถ้าพิจารณาลงทุนผ่านกองทุนรวมไทยที่ไปซื้อสินทรัพย์ในต่างประเทศหรือกองทุนไทยที่ไปลงทุนในกองทุนต่างประเทศ ผู้ลงทุนจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหากได้กำไรจากการลงทุน  แต่ถ้ามีปันผลก็ต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10