เปิดมาตรการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ผู้เอาประกันภัย  กรณี ‘สินมั่นคงประกันภัย’

0
74

นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) ดร.สมพร สืบถวิลกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย นายชนะพล มหาวงษ์ ผู้จัดการกองทุนประกันวินาศภัย (กปว.) แถลงการดำเนินการด้านการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนผู้เอาประกันภัย กรณีบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย การเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือผู้เอาประกันภัย ผู้รับผลประโยชน์ และผู้มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัย โดยมีบริษัทร่วมโครงการช่วยเหลือผู้เอาประกันภัย 9 ราย เริ่มเปิดให้ยื่นคำทวงหนี้ผ่านระบบออนไลน์ ระยะเวลา 60 วัน หลังจากวันที่ 8 กันยายน 2567 เลิกกรมธรรม์สิ้นสุดความคุ้มครอง  และเวลา 8.30 น. วันที่ 9 กันยายน-7 พฤศจิกายน 2567 เวลา 16.30 น.เปิดให้ยื่นคำทวงหนี้ผ่านระบบออนไลน์

กรณีบริษัทสินมั่นคงประกันภัย จํากัด (มหาชน) ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

1. มาตรการเตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่ของสายด่วน คปภ. 1186 สํานักงาน คปภ. ได้รองรับการให้บริการโดยได้ดําเนินการ ดังนี้

(1) เตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่ของสายด่วน คปภ. 1186 ในการให้ข้อมูลแก่ประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าว

(2) เพิ่มเจ้าหน้าที่ให้บริการเพื่อรองรับปริมาณ สายเรียกเข้าที่โทรเข้ามาสอบถามที่สํานักงาน คปภ. โดยเพิ่มช่องทางการสื่อสารให้กับประชาชนผ่านระบบตอบรับอัตโนมัติ บน Application LINE คปภ.รอบรู้ (@OICCONNECT) โดยประชาชนสามารถสอบถามเกี่ยวกับสถานการณ์ และข้อมูลข่าวสารของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จํากัด (มหาชน) สํานักงาน คปภ. จะมีการรวบรวม คําถามคําตอบที่สําคัญ หรือที่ถูกถามบ่อย พร้อมให้บริการแก่ประชาชนได้ตลอด 24 ชม.

2. มาตรการสื่อสารเพื่อทําความเข้าใจและแจ้งประชาสัมพันธ์กับประชาชน โดยการยื่นคําขอรับชําระหนี้ และกระบวนการช่วยเหลือผู้ถือกรมธรรม์ที่ยังมีผลบังคับของบริษัท ตลอดจน มาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ สํานักงาน คปภ. จะมีการบูรณาการระหว่างกองทุนประกันวินาศภัย โดยมีการ ตั้งทีมงานของสํานักงาน คปภ.เพื่อทํางานอย่างใกล้ชิดร่วมกับกองทุนประกันวินาศภัย และสายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สายกลยุทธ์องค์กร สายส่งเสริมและประกันภัยภูมิภาค สายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ และสายงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อดําเนินการรวบรวมข้อมูล คําถามคําตอบ ทําความเข้าใจสถานการณ์ ประชาสัมพันธ์มาตรการช่วยเหลือผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ และผู้มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัย ในการทําความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ลดความตื่นตระหนก และความกังวลจากทุกภาคส่วน ดังนี้

(2.1) การให้บริการข้อมูลทางโทรศัพท์ โดยผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ และผู้มีสิทธิเรียกร้อง ตามสัญญา ประกันภัย สามารถติดต่อขอรับการบริการข้อมูลทางโทรศัพท์ได้ตามช่องทาง ดังนี้

(2.1.1) สํานักงาน คปภ. ผ่านระบบสายด่วน คปภ. 1186 โดยจัดเตรียมช่องทางพิเศษ ในกรณีต้องการสอบถามบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จํากัด (มหาชน) โดยหากมีการติดต่อผ่านสายด่วน คปภ. 1186 จะมีช่องทางให้ประชาชน กดหมายเลน 8 เพื่อเข้าปรึกษา กรณีบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จํากัด (มหาชน)

(2.1.2) สํานักงาน คปภ. ภาคและสํานักงาน คปภ. จังหวัดทั่วประเทศ หมายเลขโทรศัพท์ของสํานักงาน คปภ. ภาค และสํานักงาน คปภ. จังหวัด จํานวน 78 คู่สาย มีพนักงานให้บริการ 78 คน

(2.2) การให้บริการประชาชนผ่าน Line คปภ.รอบรู้ เพื่อให้ประชาชนได้สอบถามข้อมูลต่างๆ ได้ตลอดเวลา

(2.3) รูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผ่านช่องทางต่าง ๆ

(2.3.1) ช่องทางสื่อออนไลน์ เช่น การให้สัมภาษณ์รายการโทรทัศน์ clip video เว็บไซต์ Facebook สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย infographic ประเด็นถาม-ตอบ (Q&A) และเครือข่ายสื่อมวลชน ของสํานักงาน คปภ.

(2.3.2) ช่องทางออฟไลน์ เผยแพร่ประกาศ ณ สํานักงาน คปภ. ส่วนกลาง สํานักงาน คปภ. เขต สํานักงาน คปภ. ภาค และสํานักงาน คปภ. จังหวัด ทั่วประเทศ

3. มาตรการจัดตั้งศูนย์ในการให้คําแนะนํา และอํานวยความสะดวกในการให้ข้อมูลแก่ประชาชนเพื่อการลงทะเบียนยื่นการขอรับชําระหนี้ จากกองทุนประกันวินาศภัยทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อให้การขอรับชําระหนี้เป็นไปอย่างถูกต้อง ครบถ้วน โดยผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ และผู้มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญา ประกันภัย สามารถเข้าถึงความเป็นธรรมได้อย่างทั่วถึงโดยสํานักงาน คปภ. ทําหน้าที่เป็นผู้ประสานงานและอํานวยความสะดวกแก่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์และผู้มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัย เกี่ยวกับการให้คําแนะนํา และอํานวยความสะดวกในการคีย์ข้อมูลขอรับชําระหนี้

ทั้งนี้ ได้มีการจัดเตรียมศูนย์ในการให้คําแนะนํา และอํานวยความสะดวก ในการให้ข้อมูลแก่ประชาชนในการลงทะเบียนยื่นขอรับชําระหนี้ ทั่วประเทศ ทั้งสํานักงาน คปภ. ส่วนกลาง สํานักงาน คปภ. เขตท่าพระและ เขตบางนา ตลอดจน สํานักงาน คปภ.ภาค สํานักงาน คปภ. จังหวัดทั่วประเทศ

4. การกําหนดช่องทางในการยื่นคําขอรับชําระหนี้โดยการคีย์ข้อมูล การขอรับชําระหนี้ผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยชน์ และผู้มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัย จะต้องยื่นคําขอรับชําระหนี้ ผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น โดยสายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ และ สายส่งเสริมและประกันภัยภูมิภาคได้มีการ จัดเตรียมบุคลากรของสํานักงาน คปภ. ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อให้อํานวยความสะดวกให้แก่ ประชาชนเกี่ยวกับการลงทะเบียนขอรับชําระหนี้ผ่านระบบออนไลน์ โดยได้กําหนดแนวทางในการยื่นขอรับชําระหนี้ของเจ้าหนี้แต่ละประเภทของบริษัท ดังนี้

(1) กรณีเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยของบริษัท ให้ยื่นขอรับชําระหนี้ต่อกองทุนประกันวินาศภัย ในฐานะผู้ชําระบัญชีของบริษัท ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่กองทุนประกันวินาศภัยกําหนดในประกาศฯ ประกอบการยื่นขอรับชําระหนี้ ประกอบด้วย กรมธรรม์ประกันภัย บัตรประจําตัวประชาชน ใบเคลม ใบนัดชําระหนี้ หรือเอกสารอื่นใดที่แสดงถึงมูลหนี้ และหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล)

(2) กรณีเจ้าหนี้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัย ให้ยื่นคําขอรับชําระหนี้ต่อกองทุนประกันวินาศภัย ในฐานะผู้ชําระบัญชีของบริษัท ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่กองทุนประกันวินาศภัยกําหนดในประกาศ ประกอบการยื่นขอรับชําระหนี้ประกอบด้วย

(3)หลักฐานแสดงถึงมูลหนี้ บัตรประจําตัวประชาชน หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล)

                ทั้งนี้ หากเจ้าหนี้ไม่สามารถยื่นได้ด้วยตนเอง จะต้องมีหนังสือมอบอํานาจโดยติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมกับ สําเนาบัตรประชาชนผู้มอบอํานาจและผู้รับมอบอํานาจยื่นต่อกองทุนประกันวินาศภัยในฐานะผู้ชําระบัญชีของบริษัท