เรื่องประกันภัยที่ต้องรู้จากกรณี ตึกก่อสร้าง สตง.ถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว

0
34

เรื่องประกันตึกสตง.ที่ทนายรณรงค์ควรเข้าใจ?…>>> คงรับทราบกันแล้วนะครับว่า ตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือสตง.ที่กำลังก่อสร้างและถล่มลงมาจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28มีนาคม2568 มีการทำประกันกับ4บริษัท คือ ทิพยประกันภัย กรุงเทพประกันภัย อินทรประกันภัย และวิริยะประกันภัย….และตอนนี้มีการพูดกันว่า ผลลงเอยในเรื่องการจ่ายเคลมจะเป็นเช่นไร? และคนงานจะได้รับความคุ้มครองหรือไม่?…>>> ผมได้อ่านเรื่องราวที่ ทนาย’รณรงค์ แก้วเพ็ชร์’ โพสต์ โดยพุ่งเป้าไปที่บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด(มหาชน) มีเนื้อหาไปทำนองที่ว่า มีความไม่ชอบมาพากล เพราะทิพยประกันภัยมีกระทรวงการคลังถือหุ้น แล้วเมื่อตึกถล่ม ก็จ่ายเคลมด้วยการนำเงินรัฐไปจ่ายให้เอกชน…ดูตามความหมายของถ้อยคำที่ทนายรณรงค์โพสต์เสมือนหนึ่งว่า รัฐจะช่วยเอกชนแบบไม่ถูกต้อง>>> ผมไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆกับบริษัททิพยประกันภัยครับ แล้วก็เป็นคนที่ไม่ได้โด่งดังอะไร เมื่อเทียบกับทนายรณรงค์ แต่เมื่ออ่านถ้อยคำที่โพสต์แล้ว ผมมีความรู้สึกว่า ไม่ถูกต้อง…*** ผมไม่มั่นใจว่า ทนายไม่เข้าใจเรื่องราวประกัน หรือ ไม่รู้จักบริษัททิพยประกันภัยดีพอ หรือต้องการโพสต์เพื่อเรียกยอดไลค์?…>>> เอาอย่างนี้นะครับทนาย…***ถ้าพูดถึงสถานะ ถึงแม้ทิพยประกันภัย จะมีกระทรวงการคลังและหน่วยงานของรัฐถือหุ้น บริษัทแห่งนี้ก็ไม่ได้เป็นรัฐวิสาหกิจนะครับ…ทิพยประกันภัย หลุดพ้นความเป็นรัฐวิสาหกิจมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว …ตอนนี้คือ บริษัทที่ทำธุรกิจเหมือนกับบริษัททั่วไป เป็นบริษัทที่ทำมาค้าขายในธุรกิจประกันภัยที่ต้องการกำไรครับ แล้วยังเป็นบริษัทมหาชนด้วย…ขณะที่การถือหุ้นของกระทรวงการคลังและหน่วยงานอื่นของรัฐ ก็มีสิทธิเหมือนๆกับผู้ถือหุ้นอื่นๆ และถึงแม้หน่วยงานรัฐจะถือหุ้นรวมกันแล้วมีสัดส่วนที่สูง ก็ไม่มีสิทธิ์ใดๆที่จะนำเงินที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกิจไปใช้จ่ายในเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ขณะเดียวกัน การเป็นบริษัทประกันภัยก็มีสำนักงานคปภ.ควบคุมอยู่อีกชั้นหนึ่งด้วย…*** เมื่อเป็นเช่นนี้ หากมองถึงประเด็นการจ่ายเคลมตึกสตง.แล้ว จึงเป็นไปไม่ได้ ที่จะมีการจ่ายโดยไม่ถูกต้อง…>>> สิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจเรื่องการรับประกันตึกสตง.ที่ถล่มก็คือ รายละเอียดการรับประกันภัยการก่อสร้างครับ…งานนี้ รับประกันแบบCo Insurance จำนวน4บริษัท…แยกเป็นประกันภัยโครงสร้าง 2,136ล้านบาท,ประกันภัยความเสี่ยงทรัพย์สิน 5ล้านบาท และประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก 100ล้านบาท…>>>แต่ทั้งนี้ทั้งนั้ย แม้ทั้ง4บริษัท จะรับประกันไว้ด้วยทุนประกันเยอะขนาดนี้ ไม่ใช่ว่า ทุกบริษัทจะเก็บหรือจะรับไว้เองทั้งหมดนะครับ อย่างมากก็เก็บไว้ไม่เกิน10%ของทุนประกัน หรือไม่เกิน200ล้านบาท…อย่างกรณีของทิพยประกันภัยก็บอกมาชัดเจนแล้วว่า เก็บไว้แค่5% ที่เหลืออีก95% ส่งให้บริษัทประกันภัยต่อในต่างประเทศ…ซึ่งอีก3บริษัทผมก็เชื่อว่า เป็นแบบเดียวกัน…***เอาล่ะ!มาถึงกรณีการจ่ายเคลม ไม่ใช่อยู่ๆก็จ่ายกันเลย…ยังมีอีกหลายขั้นตอนครับ…ต้องสำรวจภัย..ต้องจัดหาข้อมูลประกอบ…ต้องประเมินความเสียหาย และต้องสืบค้นข้อเท็จจริง เพื่อให้การจ่ายเคลมมีความถูกต้องและชอบธรรม….เรื่องนี้ ไม่ใช่สินไหมกรุณา จ่ายด้วยความสงสารไม่ได้ครับ….>>> กรณีตึกสตง.ปมปัญหา เป็นที่รับทราบโดยข้อมูลทั่วไปว่า กำลังก่อสร้างไปได้30% แล้วก็ถล่มลงมา…ตามหลักการประกันภัย ความเสียหายเกิดขึ้นจริง มากน้อยขนาดไหน ประเมิน ณ วันเกิดเหตุครับ พร้อมกันนั้น พิจารณาข้อเท็จจริงทั้งหมดด้วย…ไม่ใช่ทำประกันไว้2,000กว่าล้าน แล้วจ่ายให้ทั้งหมด…จะมีการจ่ายตามความเป็นจริงครับ……แต่ก่อนจ่าย ต้องแสวงหาข้อเท็จจริงกันก่อน…>>> กรณีตึกสตง. ยังต้องดูอะไรบ้าง?….ดูการก่อสร้างว่า ถูกต้องตามแบบหรือไม่?….ดูเรื่องวัสดุตรงสเปคตามแบบหรือไม่? เช่น ขนาดเหล็ก คุณภาพเหล็ก เป็นต้น…ซึ่งในเรื่องของเหล็ก ล่าสุด นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมนำทีมลงพื้นที่ตึกถล่ม และนำเหล็กไปตรวจสอบ ในเบื้องต้นมีข้อมูลบางอย่างที่ชี้ออกมาว่า ไม่ชอบมาพากล…นี่เป็นบางตัวอย่างที่เกิดขึ้นแล้ว….>>>อยากจะบอกว่า เรื่องทำนองอย่างนี้ ไม่ได้พิจารณาแค่บริษัทประกันในไทย บริษัทประกันต่างชาติที่เป็นบริษัทประกันภัยต่อ พิจารณาละเอียดมาก เพราะเขารับประกันกว่า90%…ถ้าต้องจ่ายจริง เขาจ่ายมากกว่าบริษัทประกันไทยเสียอีกครับ…>>>แต่ๆถ้าเกิดมีข้อเท็จจริงบางอย่างที่เข้าข่ายสาระสำคัญ และเป็นข้อยกเว้นของสัญญาประกันภัย บางทีอาจไม่มีการจ่ายเคลมก็เป็นได้…เรายังต้องติดตามกันอีกพอสมควร >>> เรื่องเหล่านี้ ผมคิดว่า ทนายรณรงค์ พอจะเข้าใจขึ้นบ้าง?#ข่าวประกันวันนี้#แผ่นดินไหว #ตึกสตง#ทิพยประกันภัย #กรุงเทพประกันภัย #อินทรประกันภัย #วิริยะประกันภัย