ซิกน่าเผยผลสำรวจพบอัตราการฉีดวัคซีนสูงช่วยยกระดับชีวิต-ความเป็นอยู่คนในสังคมได้

0
79

การดูแลสุขภาพจิตมีบทบาทสำคัญสำหรับการฟื้นตัวของคนในสังคม โดยเฉพาะเมื่อผู้คนหันมาใช้โซลูชันทางด้าน virtual healthcare มากยิ่งขึ้นดัชนี้ชีวัดด้านความเป็นอยู่ทางสถานะการเงิน ยังคงเป็นปัญหาสำคัญสำหรับคนในสังคม ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

ซิกน่าประกันภัย เผยผลสำรวจคะแนนสุขภาพและความเป็นอยู่แบบ 360° ฉบับล่าสุด ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2564 ที่ผ่านมาพบว่าการฉีดวัคซีน ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภาวะความเป็นอยู่ของผู้คนทั่วโลกในทิศทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนที่สูง จะสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าประเทศอื่น ซึ่งเห็นได้ชัดจากคะแนนความเป็นอยู่ที่มีตัวเลขสูงขึ้นในทุกมิติ ทั้งนี้ ซิกน่าได้มุ่งสำรวจความเห็นและทัศนคติของผู้คนเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อทำความเข้าใจถึงสาเหตุในความลังเลใจ และเพื่อหาข้อสนับสนุนในการสร้างความมั่นใจต่อการฉีดวัคซีนให้แก่คนทั่วโลก

อ้างอิงจากข้อมูลล่าสุด ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 ในขณะที่ทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปแล้วมากกว่า 1.7 พันล้านโดส พบว่า ประเทศที่ได้รับการฉีดวัคซีนส่วนใหญ่มีดัชนีของความเป็นอยู่ที่ดีเพิ่มขึ้นทั้ง 5 ด้าน ซึ่งชี้ให้เห็นว่า นอกเหนือจากการจัดมาตรการป้องกันการติดต่อของโรคระบาดแบบต่างๆ การบริหารจัดการการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังส่งผลดีต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา สเปน ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ พบว่ามีคะแนนความเป็นอยู่ที่สูงขึ้นกว่าช่วงก่อนการเกิดโรคระบาด ในทางกลับกัน บางประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนที่ต่ำ พบว่ามีคะแนนความเป็นอยู่ที่ต่ำกว่า เช่น ญี่ปุ่น(53.2) เกาหลีใต้(54.0) และไต้หวัน(55.9)

ธีรวุฒิ สุธนะเสรีพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด(มหาชน)

นายธีรวุฒิ สุธนะเสรีพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิกน่า ประกันภัย จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ในขณะที่พวกเราทุกคนกำลังมุ่งหน้าสู่การฟื้นตัวจากสถานการณ์การระบาดของโรควิด19 จะเห็นได้ชัดว่าสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ขึ้นมามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการใช้ชีวิต ซึ่งจากผลวิจัยของซิกน่า ทำให้เราเห็นว่า ประเทศที่มีการจัดการระบบการฉีดวัคซีนที่ประสบความสำเร็จ จะนำมาซึ่งความหวังแก่คนในสังคม เพื่อก้าวไปสู่อนาคตที่มั่นคงอีกครั้ง

ในเชิงของผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส จากการศึกษาพบว่า คนในสังคมมีความตระหนักถึงผลกระทบทางด้านสุขภาพจิตมากขึ้นกว่า 72% ของผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า สุขภาพจิตส่งผลต่อสุขภาพส่วนบุคคลและความเป็นอยู่ที่ดี และอีก 70% ของผู้ตอบแบบสอบถามยังคงตระหนักถึงเรื่องสุขภาพทางกายเป็นหลัก ทั้งนี้ ในปัจจุบันการนำโซลูชันด้านการดูแลสุขภาพ หรือระบบ virtual healthcare มาใช้บำบัดสุขภาพจิต มีแนวโน้มการใช้งานที่สูงขึ้น ซึ่งถือเป็นโอกาสดีสำหรับธุรกิจและผู้ให้บริการทางด้านสุขภาพในการนำนวัตกรรมดังกล่าวมาช่วยส่งเสริมให้ผู้คนสามารถเข้าถึงการดูแลสุขภาพได้จากทุกทีโดยไม่ต้องเสี่ยงเดินทาง นอกจากนี้ยังพบว่าในขณะนี้ มีผู้ใช้งานระบบ virtual healthcare มากขึ้นถึง 89% ตั้งแต่ช่วงแรกของการระบาด และอีก 66% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ระบุว่า พวกเขาต้องการเข้าถึงบริการดังกล่าว ซึ่งคิดเป็นอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 71% สำหรับผู้ตอบแบบสอบถามในช่วงอายุ 25-34 ปี

หากมองในแง่ของสถานะทางการเงิน การระบาดของเชื้อไวรัสยังคงส่งผลกระทบต่อผู้คนในสังคมอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ทำให้ผู้คนต่างกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการใช้จ่ายของตนเองและคนในครอบครัว เช่น ค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษา ภาระค่าผ่อนจ่ายต่าง ๆ ไปจนถึงสถานะทางการเงินเมื่อเกษียณอายุ ซึ่งจากการศึกษา พบว่า จากจำนวนประชากรทั้งหมดในโลก มีเพียง 1 ใน 5 ส่วนเท่านั้น ที่คาดการณ์ว่าจะมีเงินออมเพียงพอสำหรับการเกษียณ ในขณะเดียวกัน มีเพียง 13% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 18-24 ปี ที่ยังคงรู้สึกมั่นใจเกี่ยวกับการออมเงินในระยะยาว

ท้ายที่สุดนี้ เกือบ 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถาม(คิดเป็น 28% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด) เชื่อว่า พวกเขาสามารถรักษามาตรฐานการครองชีพในปัจจุบันได้ อย่างไรก็ตาม สาเหตุส่วนใหญ่อาจมาจากการลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันลง เช่น การที่ร้านอาหารปิดตัว หรือการที่ไม่สามารถออกเดินทางไปท่องเที่ยวได้ การนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาที่เป็นประโยชน์สำหรับกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบ รวมไปถึงการกระตุ้นการรับรู้ให้แก่คนในสังคมถึงผลกระทบเชิงบวกที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว เพื่อน และชุมชน จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะนำไปสู่การฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว

จากที่กล่าวมาข้างต้น ซิกน่าประกันภัยได้กำหนดกลยุทธ์เพื่อรองรับสถานการณ์ปัจจุบันในประเทศไทย โดยเรามีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของลูกค้า ผ่านการมอบโซลูชันด้าน Virtual Healthcare Service – Telemedicine รวมไปถึงการสนับสนุน QueQ สตาร์ทอัพไทยที่มุ่งนำนวัตกรรมแอปพลิเคชันเข้ามาช่วยเหลือระบบการจัดการคิวฉีดวัคซีน เพื่อให้เป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ซิกน่ายังมอบสิทธิพิเศษให้แก่ลูกค้าในการเข้าถึงประกันแพ้วัคซีนอีกด้วย

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมของซิกน่า ประเทศไทยได้ที่ www.cigna.co.th

ภาคผนวก

การสำรวจคะแนนสุขภาพและความเป็นอยู่แบบ 360° ของซิกน่าประจำปี 2021 ในฉบับ Cigna 360° Well-Being Survey – On the Road to Recovery ใช้ดัชนีชีวัด 5 ประการ ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความเป็นอยู่ทางร่างกาย ครอบครัว สังคม การเงิน และการทำงานโดยได้ร่วมมือกับ บริษัท กันตาร์(Kantar) ซึ่งเป็นบริษัทฯ ผู้ให้บริการด้านการสำรวจข้อมูลเชิงลึก และเป็นที่ปรึกษาชั้นนำของ Cigna International โดยการสำรวจดังกล่าว มีจุดประสงค์หลักเพื่อศึกษาแนวโน้มและความท้าทายล่าสุดสำหรับภาวะทางด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนทั่วโลก

การสำรวจครั้งนี้ ใช้ผู้ตอบแบบสอบถามผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งสิ้น 18,043 คน ในช่วงอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ภายในพื้นที่ 21 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ ออสเตรเลีย เบลเยียม จีน เยอรมนี ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เคนยา นิวซีแลนด์ ซาอุดีอาระเบีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ สเปน ไต้หวัน ไทย เนเธอร์แลนด์ ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา โดยแบบสำรวจดังกล่าวใช้เวลาทำ 20-25 นาทีโดยไม่มีการเปิดเผยรายชื่อผู้ร่วมทำแบบสำรวจ

การสำรวจนี้เสร็จสิ้นในเดือนเมษายน 2564 ก่อนที่ประเทศอินเดียและไต้หวันจะมีผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในทุกประเทศ เป็นข้อเท็จจริงสำหรับสถานการณ์ของแต่ละประเทศในขณะนั้น แต่เนื่องด้วยธรรมชาติของการระบาดของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป การรับรู้ในอนาคตจึงมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปตามสถานการณ์

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่