ดร.อภิสิทธิ์ อนันตนาถรัตน์ “ประกันโควิด 8 ล้านกรมธรรม์คือ ดาต้าเบสท์ขนาดใหญ่”

0
674

 

“Covid -19  คือ โอกาส การรับรู้เรื่องการประกันภัยของประชาชน และต่อยอดด้วย ดาต้าเบสต่างๆ  และนำไปสู่ New normal ของธุรกิจประกัน”

ดร.อภิสิทธิ์  อนันตนาถรัตน์   กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กรุงเทพประกันภัย กล่าวว่า จากสถานการณ์ Covid -19 ทำให้เห็นภาพที่นำไปสู่โอกาสทางธุรกิจ จะเห็นได้ว่ามีหลายมิติ ที่ทำให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการมีประกันภัย เพิ่มขึ้นกลุ่มประชากรของบ้านเรา สังเกตจากการเติบโตของเบี้ยประกันภัย และจำนวนประกันภัยที่มีเป็นความคุ้มครองเรื่องของ Covid -19  จากตัวเลขที่คปภ.ได้ให้ตัวเลขไว้ ณ เมษายน 2563  มียอดกรมธรรม์ภัยโควิด ถึง 8 ล้านกว่ากรมธรรม์ คิดเป็นเบี้ยประกันภัยในภาพรวมของระบบ 3,000 กว่าล้านบาท  ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า อันนี้เป็นสิ่งที่แสดงว่าคนเริ่มเกิดความตระหนัก และเล็งเห็นความสำคัญของการมีประกันภัย

โอกาสที่เกิดขึ้นก็คือ อันนี้ถือเป็นดาต้าเบสในระบบอุตสาหกรรมที่นำไปสู่การต่อยอดในทางธุรกิจได้อีกจำนวนมากจากข้อมูลจำนวน  8 ล้านกว่า กรมธรรม์  บริษัทกรุงเทพประกันภัย มีจำนวนกรมธรรม์ประกันภัยCovid-19 ประมาณ 6 แสนกว่ากรมธรรม์  เบี้ยประกันภัยในสัดส่วนของภาพรวมตลาดอยู่ที่ประมาณ  7-8 %  คิดเป็นเบี้ยประกันภัยเกือบ 300 ล้านบาท สำหรับเบี้ยประกันภัย Covid -19 ที่ได้มีการเปิดตัวไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว กรุงเทพประกัยถือเป็นเจ้าแรกที่ออกแบบประกันภัย Covid -19  ออกมาโดยทำร่วมกับ ทีคิวเอ็มอินชัวรันส์ โบรกเกอร์

“สิ่งที่มองว่า Covid -19  คือ โอกาส ประการแรกก็คือว่า การรับรู้เรื่องการประกันภัยของประชาชน และต่อยอดด้วย ดาต้าเบสต่างๆ  และนำไปสู่ New normal ของธุรกิจประกัน คือ เดิมที่คาดการณ์ว่าการทำธุรกรรมบนออนไลน์ คงไม่ใช่สิ่งที่จะได้รับความนิยม และไม่ไช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ Covid -19 พบว่าเบี้ยประกันภัยออกมาในกึ่งๆจะเป็น ไมโครอินชัวรันส์ เพราะเบี้ยประกันภัยเป็นหลักร้อยบาท ถึงแม้จะมีประกันภัยบางแบบทีเบี้ยประกันภัยที่พุ่งขึ้นไปใกล้หลักพัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความคุ้มครอง

โดยพื้นฐานเบี้ยประกันภัยที่เป็นหลัก 100,  200, 300  บาท ไม่เกิน  500  บาท ถ้าขายแบบเดิมๆ  จะไม่คุ้มกับต้นทุน  เพราะฉะนั้นผู้ขาย ไม่ว่าจะเป็น โบรกเกอร์หรือบริษัทประกันภัย ก็ออกขายอยู่บนออนไลน์ แพลตฟอร์ม  ก็พบว่าก็มีการเข้าไปซื้อประกันบนออนไลน์แพลตฟอร์ม ด้วยการเติบโตที่มากและชัดเจน  ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งทำให้คิดว่าอุตสาหกรรมต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องของการสร้าง ออนไลน์แพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพ และมีความรวดเร็วในการตอบโจทย์ ความต้องการของลูกค้าซึ่งเรามองว่าอันนี้คือโอกาส ”

ในขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมประภัยหลังเกิดเหตุการณ์ Covid-19 นำไปสู่การลดลงของ Loss ratio  นับเป็นผลกระทบในทางบวกของอุตสาหกรรมประกันภัย  โดยเรื่องแรก คือ เรื่องของการประกันสุขภาพ ในภาพรวมจะเห็นว่า ในช่วงนี้หากไปที่โรงพยาบาลจะพบว่า คนไข้น้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไข้ OPD  จะน้อยลง หากเทียบกับอดีต เมื่อคนมีประกันภัย เมื่อมีอาการ ปวดหัว ตัวร้อน ก็จะไปโรงพยาบาล เพื่อพบแพทย์ และรับยามาทาน แต่เมื่อเกิด Covid-19  ทำให้คนมองว่าการไปโรงพยาบาลจะเป็นไม่ใช่สถานที่ ที่ปลอดภัยอีกต่อไป เพราะโรงพยาบาลอาจจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อของ Covid-19  ตอนนี้คนก็ยังกังวล และรู้สึกกลัวอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้เชื่อว่า อัตราการเคลมภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพในช่วงที่ผ่านมาและต่อเนื่องในอีกระยะหนึ่ง จำนวนการเคลมภายใต้ OPD  มีแนวโน้มลดลงมามาก

ในขณะเดียวกันยังมีความต่อเนื่อง ไปยังการพัฒนาระบบของการให้บริการที่เรียกว่า Tele medical  service ที่มีแพลตฟอร์มในการให้ผู้เอาประกันภัยของแต่ละบริษัท มีการออกรูปแบบของการให้บริการ แบบ Telemeter ขึ้นมา คือ การปรึกษาหมอ แบบออนไลน์ และมีการสั่งยาแบบออนไลน์ แล้วยาจะถูกส่งมายังบ้านของผู้เอาประกันภัย ซึ่งก็เกิดความแพร่หลายในการใช้Tele medical service มากขึ้น

นอกจากนี้ยังจะเห็นว่า กฎกติกาต่างๆ ที่ หน่วยงานกำกับอย่างสำนักงาน คปภ.  ที่เคยมีการควบคุมที่เข้มงวด ก็มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการอนุญาต ให้บริษัทประกันภัยสามารถขายประกันภัยระยะสั้น สามารถขายความคุ้มครองเป็นแบบรายวัน  รายสัปดาห์ รายเดือน หรือไตรมาส ได้ ซึ่งเดิมกรมธรรม์ประกันภัยส่วนใหญ่จะต้องขายแบบเป็นรายปี รวมไปถึงอนุญาตให้มีการผ่อนชำระเบี้ยประกันภัยได้นานสูงสุดถึง  6 เดือน หรือ 180 วันด้วย  เพราะฉะนั้นจะเห็นว่ากฎ กติกา เหล่านี้ได้สร้างความยืดหยุ่นให้กับอุตสาหกรรมประกันภัย ซึ่งทำให้ต้นทุนต่างๆ ในการบริหารจัดการต่างๆ ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ สำนักงานคปภ. อนุญาตให้บริษัท ออก E-policy  ได้อย่างหลากหลายรูปแบบกรมธรรม์  และถือว่าเป็นสัญญาที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ซึ่งเดิมจะต้องมีการขออนุมัติแบบกรมธรรม์เป็นแต่ละแบบเฉพาะรูปแบบ เฉพาะแต่กรมธรรม์ ในปัจจุบันในช่วงสถานการณ์แบบนี้ สำนักงานคปภ. ได้ให้สิทธิ์ กับบริษัทประกันภัย ซึ่งเราเชื่อว่าเมื่อเกิดเป็น New normal แล้วจะนำไปสู่เรื่องของการปรับลดตุ้นทุนในการบริหารจัดการได้

นอกเหนือจากสิ่งเหล่านี้ยังเชื่อว่า โครงการของภาครัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ หลายคนมองว่ารัฐบาลอาจจะ ดีเลย์ โครงการ บางโครงการออกไป  คือโดยส่วนตัวยังมีความเชื่อว่า  80 %  ของโครงการต่างๆ ที่มีการอนุมติโครงการภายใต้พระราชบัญญัติงบประมาณไปแล้ว ไม่น่าจะมีการเลื่อนออกไปมากเท่าไร เหตุและผลคือว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบกับ GDP ในภาพรวมส่งออกเป็นเรื่องที่เติบโตได้อยาก อุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างไรก็ลดลงมาก   ส่วนภาคการบริโภคในประเทศ เศรษฐกิจค่อนข้างชะลอตัว และฝืดเคือง ฉะนั้นการใช้จ่ายภาคเอกชนจะลดน้อยลง สิ่งหนึ่งที่เป็นความหวังคือการใช้จ่ายของภาครัฐ ฉะนั้นเชื่อว่ารัฐบาลจึงจะพยายามผลักดันให้เกิดงบประมาณออกมา

ทั้งนี้ จากการเงินที่รัฐบาลวางแผนที่จะช่วยเหลือการใช้จ่ายพื้นฐานของประชาชนคือ การจ่าย 3,000 บาท 5,000 บาท ในช่วง  3 เดือนนั้น ค่าใช้จ่ายต่างๆ ของภาครัฐจะเกิดขึ้น และหลายๆโครงการ จะมีการประมูลไปเรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็น รถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อสนามบินต่างๆ  จะมีโครงการทางด่วนดาวคะนอง พระราม 3- ดาวคะนอง พวกนี้ก็ผ่านการประมูลไปแล้ว  และเชื่อว่าจะสร้างพอร์ตงานให้กับธุรกิจประกันภัยในครึ่งปีหลัง 2563

ส่วนเรื่องของตลาดประกันภัยของโลกนั้น หากมองลึกๆ จะพบว่าภาคของการประกันภัยทรัพย์สิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประกันภัย IAR  จะพบว่า Global rating ค่อนข้างจะเพิ่มอัตราขึ้นไปมาก หลายๆ ส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน  เขื่อน จะเห็นว่าอัตราเบี้ยประกันภัยที่เป็น Global rating บางโครงการมีเบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้นไปเกือบเท่าตัว เหตุผลคือ ความเสียหายสะสมที่ต่อเนื่องมาจาก 2 ปีที่ผ่านมา ในปี 2018 -2019   มีภัยใหญ่ๆ เกิดขึ้นอยู่พอสมควร ทำให้ Global rating มีการปรับขึ้นไป รวมถึงเบี้ยประกันภัยของอาศยานด้วย ในตัวที่เป็นเบี้ยประกันภัยในตัวเครื่องบิน ในตลาดโลกมีการปรับตัวขึ้นไป 30 –40% ในภาพรวมอย่างนี้นับว่าเป็นทั้งความท้าทาย และโอกาสทางธุรกิจของอุตสาหกรรมประกันภัยด้วย

สำหรับในส่วนของ กรุงเทพประกันภัย จากโอกาสต่างๆ ที่เราได้ เรายังมีความเชื่อมั่นว่าในสิ้นปี 2020  น่าจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ 22,800 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตประมาณ 8%  ที่มีการตั้งเป้าสูงขนาดนี้ในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว

อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว Covid 19 ฝุ่นควันไม่ได้จางหายไป  หลายยังมีความกังวลอาจจะมีการระบาดรอบ 2 โดยในช่วงแรก เราขยับถอยออกมาภายใต้เงื่อนไขความคุ้มครองต่างๆ  ความเสี่ยงก็ค่อนข้างมาก เพราะเราไม่สามารถประเมินสถานการณ์ได้อย่างชัดเจนว่าการระบาดจะรุนแรงแค่ไหน แต่ขณะนี้ภายใต้การบริหารจัดการของกระทรวงสาธารณะสุข รัฐบาล และทีมแพทย์ ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การควบคุมสามารถทำได้เป็นอย่างดีในระดับโลก

สิ่งที่ทีมแพทย์ได้ออกมาเตือนว่า เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน  การ์ดเริ่มตก  การระมัดระวังตนเอง มีโอกาสน้อยลงไปหรือไม่ ทำให้คนมีความรู้สึกหวาดกลัว และหลายคนยังไม่มีความคุ้มครองด้วยการประกันภัยโควิด เพราะฉะนั้นกรุงเทพประกันภัยจะมีการออกแบบประกันภัยคุ้มครองโควิดขึ้นมา ทีนี้จะมีการขายในทุกช่องทาง แต่เน้นขายบนออนไลน์ โดยผลิตภัณฑ์ที่ออกมาวางจำหน่าย มีการปรับเงื่อนไขความคุ้มครอง และปรับเรื่องเบี้ยประกันภัย ซึ่งน่าจะเป็นการตอบโจทย์ เพราะว่าไม่ได้คุ้มครองเฉพาะ Covid-19 แต่เป็นความคุ้มครองโรคอื่นๆด้วย คือ ประกัน 3 โรคกวนใจ เพิ่มภัย Covid  เพราะทั้ง 3โรคกวนใจ ที่คนไทยให้ความใส่ใจอยู่แล้ว  โดย 3 โรคที่ว่าคือ โรคไข้เลือดออก โรคมือเท้าปากเปื่อย และโรคไข้หวัดใหญ่ และเพิ่มความคุ้มครอง ภัยจาก Covid -19 เข้าไป

นอกจากนี้แล้ว บริษัทฯ ยังได้เพิ่มการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องในการยกระดับคุณภาพการให้บริการ พร้อมรองรับ New Normal Lifestyle ด้วยการปรับเปลี่ยน Core Business System (CBS) ขยายการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Robotic Process Automation: RPA) มาปรับปรุงกระบวนการทำงานทั้งด้านรับประกันภัยและสินไหมทดแทนเพื่อให้ลูกค้าและคู่ค้าได้รับความสะดวกรวดเร็วขึ้นแล้ว บริษัทฯ ยังได้ตั้งเป้าเป็น Data Driven Organization โดยการปรับปรุงระบบ Enterprise Data Warehouse ของบริษัทฯ เพื่อใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ สนับสนุนการทำงานและการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวเช่นนี้ บริษัทจะใช้กลยุทธ์เพิ่มการลงทุนในด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการและพร้อมรองรับ New Normal Lifestyle ด้วยการปรับเปลี่ยน Core Business System (CBS) ขยายการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Robotic Process Automation: RPA) มาปรับปรุงกระบวนการทำงาน ทั้งด้านรับประกันภัยและสินไหมทดแทนเพื่อให้ลูกค้าและคู่ค้าได้รับความสะดวกรวดเร็วขึ้นแล้ว

“เวลาที่เศรษฐกิจชะลอตัว เราต้องลงทุนเพิ่มเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี  โดยได้ไตั้งเป้าเป็น Data Driven Organization ด้วยการปรับปรุงระบบ Enterprise Data Warehouse ของบริษัทฯ เพื่อใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ สนับสนุนการทำงานและการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลเป็นตัวขับเคลื่อนที่ชัดเจนในการก้าวไปข้างหน้า” นายอภิสิทธิ์ กล่าว

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่