Insurance Knowledge(๔-๖๒) ประกันภัยมีกี่แบบกี่ประเภท ? โดย      ประสิทธิ์  คำเกิด  ๕ กันยายน ๒๕๖๒         สวัสดีครับทุกท่าน พบกับ Insurance Knowledge กันเพื่อการรอบรู้ในเรื่องของการประกันภัยกันนะครับ จากครั้งก่อนหน้านั้นเราได้ทราบว่าการประกันภัยนั้นเป็นหลักประกันเพื่อความมั่นคงทางสังคม และ เป็นการโอนความเสี่ยงภัยของเราไปให้บริษัทประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดความเสียหายหรือความรับผิดที่เกิดขึ้นในอนาคต กันไปแล้ว เรามาเสริมสร้างความรู้กันต่อเลยนะครับ       ประกันภัยมีกี่ประเภท?...ต่อประเด็นคำถามนี้ก็เพื่อจะบอกกับทุกท่านว่าภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 20 ได้มีการกำหนดในเรื่องของการประกันภัยไว้ ในหมวดที่ 2 การประกันภัยวินาศภัย และ หมวดที่ 3 การประกันชีวิต ดังนั้นการประกันภัย...
                                             Insurance Knowledge โดย ประสิทธิ์ คำเกิด                                การประกันอัคคีภัย คืออะไร ?            สวัสดีครับพบกับ Insurance Knowledge เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการประกันภัยกันนะครับ ในสถานการณ์ การระบาดของไวรัส โควิด ที่วิกฤตกันอยู่ในขณะนี้ คงทำให้หลายท่านมีความกังวลใจกันอย่างมาก IK ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกท่านที่ร่วมใจกันสู้กับเจ้าไวรัสร้ายนี้  และ เราจะร่วมมือกันเพื่อผ่านวิกฤตการณ์อันเลวร้ายนี้ไปให้ได้ด้วยดีนะครับ          สำหรับครั้งนี้เราจะยังคงเรียนรู้เรื่องการประกันวินาศภัยกันต่อนะครับ จากครั้งที่แล้วเป็นเรื่องของการประกันภัยทางทะเล และการขนส่ง ไปแล้ว ฉบับนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องการประกันอัคคีภัยกันนะครับ...          การประกันอัคคีภัย :...
Insurance Knowledge โดย ประสิทธิ์ คำเกิด  ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๒                สวัสดีครับทุกท่าน พบกับ Insurance Knowledge กันเช่นเคยครับ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของการประกันภัย ให้กับทุกท่าน               จากครั้งที่แล้วผมได้อธิบายถึงความหมายของการประกันภัยว่า “การประกันภัย เป็นการเฉลี่ยความเสียหาย ที่เกิดขึ้นกับบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่น โดยมีผู้รับประกันภัยทำหน้าที่กระจายความเสี่ยงภัยระหว่างผู้เอาประกันภัยทั้งหมด ด้วยการให้ผู้เอาประกันภัยจ่ายเงินจำนวนเล็กน้อย ซึ่งเรียกว่า 'เบี้ยประกันภัย' ให้ผู้รับประกันภัยเก็บรวบรวมไว้เป็นเงินกองกลาง เมื่อมีผู้เอาประกันภัยได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ที่เอาประกันภัยผู้รับประกันภัยก็จะนำเงินกองกลางนั้นไปชดใช้ให้ตามจำนวนที่ได้ตกลงกันไว้" หรือหากจะพูดง่ายๆ การประกันภัยภัยก็คือหลักประกันอย่างหนึ่งที่เรามีไว้เพื่อความคุ้มครองความเสียต่อชีวิต หรือ ทรัพย์สินในอนาคต หรือหากจะให้มีความหมายในเชิงมหภาค ก็มองได้ว่าการปรันภัยนั้นคือหลักประกันเพื่อความมั่นคงของสังคม อย่างหนึ่งนั่นเอง             เน้นย้ำนะครับว่า...
Insurance Knowledge โดย ประสิทธิ์ คำเกิด   การประกันภัยเบ็ดเตล็ด คืออะไร ?          สวัสดีครับพบกับ Insurance Knowledge เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการประกันภัยกันนะครับ สำหรับครั้งนี้เราจะยังคงเรียนรู้เรื่องการประกันวินาศภัยกันต่อ จากครั้งที่แล้วเป็นเรื่องของการประกันภัยทางทะเล และการขนส่ง, การประกันอัคคีภัย กันไปแล้ว ฉบับนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องการประกันอัคคีภัยเบ็ดเตล็ดกันนะครับ...        การประกันภัยเบ็ดเตล็ด หมายถึง ; การประกันภัยเพื่อการคุ้มครองต่อชีวิตร่างกายหรือนามัยของบุคคลทรัพย์สิน หรือ สิ่งอื่นใดที่มีมูลค่าและความเสี่ยงภัย ซึ่งนอกเหนือจากการประกันภัยทางทะเลและการขนส่ง-การประกันอัคคีภัย-การประกันภัยรถยนต์ ซึ่งคำว่าเบ็ดเตล็ดนั้นหมายถึงหลากหลายอย่าง ดังนั้นการประกันภัยเบ็ดเตล็ดจึงเป็นเรื่องของการประกันภัยที่มีความหลากหลายรูปแบบ โดยแบ่งออกเป็น 4 หมวดหมู่ ด้วยกันได้แก่ 1.แบบกรมธรรม์การคุ้มครองเกี่ยวกับตัวบุคคล 2.แบบกรมธรรม์การคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก 3.แบบกรมธรรม์การคุ้มครองเกี่ยวกับทรัพย์ 4.แบบกรมธรรม์การคุ้มครองเกี่ยวกับภัยอื่นๆ          เราจะมาเรียนรู้กันนะครับว่าในแต่ละแบบนั้นมีรายละเอียดอย่างไรกันบ้างเริ่มจากแบบแรกกันก่อนเลยซึ่งแบบนี้เป็นแบบที่มีความนิยมกันเพิ่มมากขึ้นในรอบสามสี่ปีที่ผ่านมามีความเติบโตมากกว่า...
Insurance Knowledge โดย   ประสิทธิ์  คำเกิด           สวัสดีครับทุกท่าน พบกับ Insurance Knowledge กันเช่นเคยครับ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของการประกันภัยให้กับทุกท่าน จากครั้งที่แล้วผมได้อธิบายถึงความหมายของการประกันภัย และแบบของการประกันชีวิตแต่ละแบบ ทั้ง ๔ แบบ กันไปแล้วนะครับ สำหรับครั้งนี้ เราจะมาเรียกรู้เกี่ยวกับการปรันวินาศภัยทั้ง ๔ แบบ กันต่อนะครับ           ขอเน้นย้ำอีกสักครั้งนะครับว่า เวลาเราพูดคำว่า 'การประกันภัย' นั้นจะหมายถึง 'การประกันชีวิต' และ 'การประกันวินาศภัย' เสมอนะครับ...
Insurance Knowledge โดย ประสิทธิ์ คำเกิด            สวัสดีครับทุกท่าน พบกับ Insurance Knowledge กันเช่นเคยครับ เราได้เรียนรู้กันแล้วนะครับว่าการประกันภัยนั้นคืออะไรและมีกี่ประเภทอะไรบ้าง สำหรับครั้งนี้เราจะมาเรียนรู้ให้ลึกขึ้นไปกันอีกหน่อยสำหรับการประกันวินาศภัยในแต่ละประเภทกัน เราจะมาเริ่มจาก การประกันภัยขนส่ง และ ภัยทางทะเลกันก่อนนะครับ           การประกันภัยทางทะเล และ การขนส่ง : หมายถึงการประกันภัยเพื่อความคุ้มครองความเสียหายของสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งสินค้า และความเสียหายแก่ตัวเรือและทรัพย์สิน หรือสินค้า ที่บรรทุกอยู่ในเรือซึ่งอยู่ระหว่างการขนส่งทางทะเล และขยายขอบเขตความคุ้มครองไปถึงการขนส่งสินค้าทางอากากศการขนส่งและทางบกซึ่งต่อเนื่องกับการขนส่งทางทะเล ซึ่งมีอยู่ ๒ ประเภท ได้แก่      ...
Insurance Knowledge โดย ประสิทธิ์ คำเกิด  การรีไฟแนนซ์บ้านสามารถโอนความคุ้มครองจากกรมธรรม์เก่าไปได้หรือไม่?         สวัสดีครับ กลับมาพบกันกับ Insurance Knowledge ซึ่งเป็นเนื้อหาสาระที่จะเสริมสร้างภูมิความรู้เกี่ยวกับการประกันภัยชีวิตและการประกันวินาศภัย  ให้กับทุกท่าน จากครั้งก่อนๆและครั้งที่แล้วเราได้เกริ่นนำให้กับทุกท่านให้ทราบว่าการประกันภัยคืออะไร มีกี่ชนิด กี่แบบ มีรายละเอียดอะไร อย่างไรกันไปแล้ว นะครับ สำหรับครั้งนี้และครั้งต่อๆ ไปเราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับการประกันภัยกันโดยนำประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในอดีต ปัจจุบัน และ อนาคต ที่เราควรทราบมาเรียนรู้กันนะครับ         ประเด็นปัญหา :  กู้เงินธนาคารเพื่อซื้อบ้านที่อยู่อาศัย ทางธนาคารก็จะให้เราทำสัญญาเงินกู้ สัญญาประกันเงินกู้ สัญญาประกันอัคคีภัย เอาไว้ ต่อมาได้มีธนาคารแห่งใหม่ได้มีข้อเสนอที่ดีในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อบ้านที่อยู่อาศัย และจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระ จึงได้ตัดสินใจทำการรีไฟแนนท์...
ตอนที่แล้วได้กล่าวถึง ขณะทำสัญญาประกันภัย วัตถุที่เอาประกันภัยคือรถยนต์ได้รับความเสียหาย มาก่อนแล้ว กรณีนี้ ศาลฎีกาโดยคำพิพากษาที่ 2513/2518 วินิจฉัยว่า บริษัทไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย เหตุผลเกิดเนื่องจาก วินาศภัย ได้เกิดขึ้นแล้ว มิใช่ภัยที่อาจมีขึ้นในอนาคต ในตอนนี้ จะได้พิจารณาถึงขณะที่สัญญาประกันภัยได้เกิดขึ้น  คือวันที่บริษัทสนองตอบรับคำเสนอของผู้เอาประกันภัย  วัตถุที่เอาประกันภัย ที่จะนำมาให้ผู้รับประกันภัยรับเสี่ยง สูญหายหรือบุบสลายอย่างสิ้นเชิงหรือไม่มีตัวตนอยู่แล้ว ในขณะบริษัทสนองตอบคำเสนอของผู้เอาประกันภัย ถามว่าสัญญาประกันภัยเช่นนี้ จะเป็นโมฆียะหรือโมฆะหรือไม่ เพราะเหตุใด กรณีวัตถุที่เอาประกันภัยได้สูญหาย เสียหายสิ้นเชิง หรือกรณีประกันชีวิต ผู้ถูกเอาประกันชีวิต ได้เสียชีวิตไปก่อนที่บริษัทจะสนองรับคำเสนอของผู้ขอเอาประประกัน กรณีเช่นนี้ การรับเสี่ยงภัยอันเป็นวัตถุแห่งหนี้ของทางฝ่ายผู้รับประกันภัยก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ หากคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ทราบดีอยู่แล้ว ยังขืนทำสัญญากันไป สัญญาประกันภัยก็เกิดขึ้นไม่ได้ ผู้รับประกันภัยจะไม่สามารถเรียกประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยได้ แต่ถ้าได้มีการทำสัญญาประกันภัยกันไปโดยเข้าใจผิดว่า วัตถุที่เอาประกันภัย ยังคงมีอยู่ แท้จริงแล้ว วัตถุที่เอาประกันภัยนั้น ไม่มีอยู่แล้ว กรณีเช่นนี้ ย่อมเป็นการสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม  ทำให้สัญญาประกันภัยนั้นเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 เงินประกันชีวิต ที่ไม่มีผู้รับประโยชน์ ถือเป็นมรดกของผู้เอาประกันภัยหรือไม่ สัญญาประกันภัย...
ผมได้ดูทีวี เมื่อหลายวันที่ผ่านมา ได้เสนอเรื่องราวของสามีภรรยาคู่หนึ่ง อยู่กินด้วยกันมานานกว่า  27 ปี วันหนึ่งภรรยาหกล้มศีรษะฟาดพื้น ทำให้เส้นโลหิตในสมองแตก ต้องนอน ติดเตียงตลอดเวลา ในภาพที่เห็น สามีกำลังให้อาหารทางสายยาง และต้องลาออกจากงานมาดูแลภรรยาตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ฝ่ายสามีบอกว่าเขาจะไม่ทอดทิ้งภรรยาไปไหน เพราะรักภรรยามาก ตามข่าวไม่ได้บอกว่าภรรยามีการประกันภัยคุ้มครองไว้หรือไม่ ถ้าหากว่าภรรยามีการซื้อความคุ้มครองจากการประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล และการที่เส้นโลหิตในสมองแตกเป็นผลโดยตรงมาจากการหกล้ม กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลย่อมจะต้องให้ความคุ้มครอง ทว่าจากประสบการณ์ของผม สมัยที่ยังอยู่ที่กรมการประกันภัย ได้ดูแลเกี่ยวกับเรื่องการร้องเรียนค่าสินไหมทดแทนและการใช้เงินตามกรมธรรม์ แม้จะเป็นระยะเวลาไม่นานนัก แต่ผมก็มีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้มากพอสมควร  จนทำให้เชื่อได้ว่า กรณีนี้เส้นโลหิตในสมองแตกก่อนเป็นเหตุให้หกล้ม ที่ผมเชื่อเช่นนี้ก็เพราะ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่ง ได้กล่าวไว้ว่า "สมองของมนุษย์เปรียบได้กับขอนไม้ที่ลอยน้ำ แม้จะมีลูกคลื่นซัดอย่างรุนแรงเพียงใดก็ตาม มันก็ยังจะคงสภาพเดิมอยู่เช่นนั้นไม่เปลี่ยนแปลง” ภรรยาของผู้เอาประกัน ในฐานะผู้รับประโยชน์ได้ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้น ความว่า สามี ได้เอาประกันชีวิตทุนประกัน 1 ล้าน 5 แสนบาท และอุบัติเหตุอีกหนึ่งล้านห้าแสนบาท ได้ชำระเบี้ยประกันมาตลอด วันที่...
ย้ำชัดๆอีกครั้ง “เงินติดล้อ” คือ “เงินติดล้อ” ไม่ใช่ “ศรีสวัสดิ์”

ติดตามเราได้ที่

4,892แฟนคลับชอบ
611ผู้ติดตามติดตาม

E-Magazine

Thailand Insurance News

Thailand Insurance News

พูดคุย และ ดูแลด้วยมิตรภาพ

I will be back soon

Thailand Insurance News
สวัสดีค่ะ 👋
ต้องการสอบถาม ข้อมูลด้านไหนดีคะ
Messenger