Medix อัปเดตสถานการณ์โควิด-19 และมุมมองต่ออนาคตของสาธารณสุข

0
152

เมดิกซ์ โกลบอล เผยข้อมูลอัปเดตสถานการณ์โควิด-19 ภายหลังการระบาดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ระบุเป็นสัญญาณทำให้ทั่วโลกตื่นตัวเกี่ยวกับระบบการดูแลสุขภาพและการรักษาพยาบาล ส่งผลให้เห็นถึงจุดที่ระบบการรักษาพยาบาลและผู้ป่วย ไม่ได้เตรียมการไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะช่องว่างที่เห็นได้ชัดในการป้องกันโรค และอุปสรรคต่อการเข้าถึงการรักษาพยาบาลและบริการในราคาที่เอื้อมถึงได้

มองภาพรวมของสถานการณ์มีทิศทางบวกมากขึ้นเมื่อสายพันธุ์โอมิครอนซึ่งมีอันตรายคุกคามน้อยกว่าสายพันธุ์เดลตา เพราะแม้ว่าการติดเชื้อจะเพิ่มขึ้น แต่อัตราการเข้ารักษาในโรงพยาบาลยังคงต่ำอยู่ โดยเฉพาะการฉีดวัคซีนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการควบคุมโรค ในขณะที่แนวทางการทำงานของประเทศไทยเป็นที่น่าชื่นชมจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัย รวมถึงการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้ชีวิตแบบ New Normal(นิวนอร์มัล) จนทำให้สามารถเปิดประเทศได้อีกครั้ง

นางซิกัล อัทซ์มอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง เมดิกซ์ โกลบอล กล่าว “แนวทางการรับมือโดยใช้ข้อมูลขับเคลื่อนและรับผิดชอบต่อสังคมเป็นสิ่งที่จำเป็น นอกจากนี้ ยังเป็นเรื่องของการเตรียมความพร้อม ทั้งสำหรับรัฐบาล โรงพยาบาล ไปจนถึงระดับบุคคลและครอบครัว ซึ่งเมดิกซ์พร้อมให้การสนับสนุนช่วยเหลือทุกเมื่อ เพราะสำหรับเราแล้ว สิ่งที่สำคัญคือการเตรียมรับมือสำหรับระลอกถัดไปและต้องจัดการให้ตรงจุด”


ทำความเข้าใจและรับมือกับภาวะลองโควิด (Long Covid)

ปัจจัยสำคัญด่านแรก คือ สุขภาพของแต่ละคน แต่อีกด้านหนึ่งของสมการก็คือ คนที่ติดเชื้อโควิดอาจต้องเผชิญกับสิ่งที่ไม่รู้อีกมาก เรียกว่าภาวะหลังโควิด-19 หรือ ลองโควิด นั่นเอง โดยมี 3 อาการที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ หายใจลำบาก ความผิดปกติของการรับรู้ (หรือสมองล้า) และความเหนื่อยล้า ซึ่งมีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าประมาณ 4.5% ของผู้ที่ติดเชื้อโควิดอาจมีอาการเกี่ยวกับหัวใจในช่วง 30 วัน ถึง 1 ปี หลังจากติดเชื้อ นับเป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับวงการสาธารณสุขไทย ที่จำเป็นต้องเตรียมพร้อมในการดูแลสุขภาพประชาชนในอนาคตหลังจากภาวะโรคระบาดครั้งนี้

ในปัจจุบัน มีรายงานอาการต่าง ๆ มากกว่า 200 ลักษณะอาการในผู้ป่วยลองโควิด อาการที่พบ ได้แก่ เจ็บหน้าอก พูดลำบาก วิตกกังวลหรือซึมเศร้า ปวดกล้ามเนื้อ มีไข้ สูญเสียการรับกลิ่น และสูญเสียการรับรส เป็นต้น โดยอาจจะมีอาการดังกล่าวประมาณ 3 – 9 เดือน ซึ่งจะต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไปอีก

เมดิกซ์เข้าใจดีว่าผู้ป่วยแต่ละรายต้องการการดูแลอย่างไร จึงสามารถให้แนวทางการฟื้นฟูด้วยศาสตร์แบบสหสาขา เข้ามาช่วยผู้ป่วยลองโควิดได้ แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีแนวการรักษาเป็นการเฉพาะเจาะจง

นายแพทย์เดวิด เซลเซอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ของเมดิกซ์ โกลบอล เสริมว่า “การตรวจสุขภาพเป็นประจำ รวมถึงทดสอบการทำงานของปอด วิเคราะห์การทำงานของหัวใจ และการตรวจภาวะภูมิแพ้ ควบคู่ไปกับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพที่ครอบคลุมถึงการฝึกหายใจและออกกำลังกาย ตรวจวัดระดับวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระอย่างสม่ำเสมอ รับวัคซีนและอาหารเสริมวิตามินเพื่อเพิ่มระดับภูมิคุ้มกัน รวมถึงแนวทางอื่น ๆ ที่ช่วยดูแลสุขภาพของผู้ป่วยให้ฟื้นตัวจากโควิด-19 เมื่อเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับลองโควิดและผลกระทบของภาวะนี้มากขึ้น ก็จะสามารถช่วยผู้ป่วยที่ต้องการฟื้นฟูจากอาการต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้นด้วย”

ทั้งนี้ ต้องระวังไม่ให้การ์ดตก จากงานวิจัยล่าสุดในวารสารวิทยาศาสตร์ Cell ระบุว่า ผู้ที่ยังมีเชื้อโคโรนาหลงเหลืออยู่ จะมีแอนติบอดีบางอย่างเกิดขึ้นมาต่อต้านเนื้อเยื่อหรืออวัยวะของตนเอง (เรียกว่า ออโตแอนติบอดี) และการระบาดของไวรัสเอปสไตน์บาร์ (Epstein-Barr virus) ก็ดูจะเสี่ยงมากขึ้น ทีมนักวิจัยกว่า 50 คน พบว่ามีจุดที่สามารถบ่งชี้ได้แต่เนิ่น ๆ และมีแนวโน้มจะสัมพันธ์กับอาการที่ยังคงเป็นอยู่ ไม่ว่าการติดเชื้อนั้นจะรุนแรงหรือไม่ก็ตาม

อนาคตสำหรับประเทศไทย

เมื่อมีการฉีดวัคซีนและบูสเตอร์มากขึ้นทั่วโลก การรักษาก็มีความพร้อมขึ้น ซึ่งเป็นแนวโน้มและสัญญาณที่ดีว่ากำลังมาถูกทางแล้ว แต่ทุกคนก็ยังต้องระวังอยู่ ประเทศไทยจะยิ่งได้รับผลในทางที่ดีขึ้น สะท้อนให้เห็นจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น การพื้นตัวของเศรษฐกิจแข็งแกร่งขึ้น และแนวโน้มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน สิ่งเหล่านี้จะส่งผลดีต่อเนื่องไปยังธุรกิจค้าปลีก ร้านอาหาร การจัดแสดงสินค้า และการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ที่ต่างเป็นอุตสาหกรรมจุดแข็งของไทย

แนวทางปัจจุบันของไทยที่เน้นเป้าหมายเป็นสำคัญนั้น มีความสมเหตุสมผล ทั้งจากอัตราการรับวัคซีนการติดตามและตรวจเชื้อ และสกัดกั้นมิให้เกิดการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว “ในระยะสั้นนี้ อาจจะต้องใช้ความพยายามอย่างหนัก โดยเฉพาะในฤดูท่องเที่ยวที่กำลังจะมาถึง ทุกภาคส่วนก็ต้องช่วยกัน ทั้งคนไทยที่ช่วยส่งเสริมและลงทุนดูแลสุขภาพของตนเอง รัฐบาลและบริษัทประกันที่ลงทุนในระบบสาธารณสุขให้แข็งแกร่งจะช่วยพัฒนาพื้นฐานของระบบสาธารณสุขไทยให้ดีขึ้นได้” นางอัทซ์มอนกล่าว

อนึ่งเมดิกซ์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2006 เป็นกิจการชั้นนำที่ให้บริการนวัตกรรมการจัดการทางการแพทย์คุณภาพสูงด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ปัจจุบันมีสำนักงานที่กรุงลอนดอน ฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ สิงคโปร์ เทลอาวีฟ จาการ์ตา กัวลาลัมเปอร์ กรุงเทพฯ มุมไบ นิวยอร์ค มิวนิก และเมลเบิร์น มีฐานลูกค้าสมาชิกมากกว่า 7 ล้านคน ในกว่า 90 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าประกันชีวิตและประกันสุขภาพจากทั่วโลก สถาบันการเงิน องค์กรขนาดใหญ่ และหน่วยงานภาครัฐ และเมดิกซ์ยังให้ความสำคัญกับการให้บริการที่เพิ่มคุณค่าด้านการจัดการดูแลสุขภาพ

โดยมีทีมให้บริการทางการแพทย์ของเมดิกซ์ประกอบด้วยแพทย์ประจำ 300 คน พร้อมด้วยพยาบาล ผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัย ทีมบริหารทางการแพทย์ เครือข่ายคุณภาพระดับโลกที่ได้รับการรับรองและผู้เชี่ยวชาญกว่า 4,500 คน และโรงพยาบาลชั้นนำ 2,000 แห่ง เมดิกซ์ให้บริการจัดการดูแลผู้ป่วยรายบุคคลทั่วโลก (Global Personal Case Management Services) บริการจัดการป้องกันโรค (Disease Prevention Management Services) โซลูชันด้านดิจิทัลเฮลท์ (Digital Health Solutions) บริการฟื้นฟูสุขภาพ (Rehabilitation Services) การดูแลสุขภาพจิต (Mental Health) บริการดูแลสุขภาพที่บ้าน (Home Care Services) รวมถึงบริการด้านกลยุทธ์การดูแลสุขภาพและบริการกำกับดูแลทางการแพทย์ (Health Strategy and Medical Governance Services) โดยให้บริการแก่บริษัทประกัน กลุ่มสถาบันทางการเงิน องค์กรขนาดใหญ่ และหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่